ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | เม็ดเลือดและกิจกรรมของฟีนอลออกซิเดส ในวงจรการลอกคราบของปูทะเล |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รพีพร ฤกษพุฒิ |
เจ้าของผลงานร่วม | จินตนา สและน้อย |
คำสำคัญ | เม็ดเลือด;ฟีนอลออกซิเดส;การลอกคราบ;ปูทะเล |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาจำนวนเม็ดเลือดรวมและกิจกรรมของฟีนอลออกซิเดสในปูทะเล จำนวน 12 ระยะตลอดวงจรการลอกคราบ โดยจำนวนเม็ดเลือดรวมในปู ระยะหลังการลอกคราบ มีค่ามากกว่าในปูระยะปกติและระยะก่อนลอกคราบ ผลการวิเคราะห์กิจกรรมของฟีนอล ออกซิเดสในเฮพาโตแพนเครียส เหงือก เนื้อเยื่อใต้กระดองและฮีโมลิมป์ พบว่า มีค่าอยู่ในช่วง 0.65 ± 0.13 ถึง 3.93 ± 2.48, 2.27 ± 0.33 ถึง 7.40 ± 0.85, 0.52 ± 0.29 ถึง 4.89 ±1.72 และ 0.93 ± 0.21 ถึง 3.65 ±1.80 ยูนิต/มิลลิกรัมโปรตีน ฟีนอลออกซิเดสแสดงค่ากิจกรรมเด่นชัดในเหงือกและเนื้อเยื่อใต้กระดองในช่วงหลังการลอกคราบ แต่ในเฮพาโตแพน เครียส มีค่ากิจกรรมเด่นชัดในช่วงก่อนการลอกคราบ สำหรับฮีโมลิมป์พบว่ากิจกรรมของฟีนอลออกซิเดส มีค่าสูงสุด ในระยะลอกคราบ 6 ชั่วโมง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการทำงานของเม็ดเลือดและกิจกรรมของฟีนอลออกซิเดส ซึ่งมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการสเคอโรไทเซชั่น เมลาไนเซชั่น และระบบภูมิคุ้มกันใน ปูทะเล |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=07%20Jintana.pdf&id=1105&keeptrack=7 |
สาขาการวิจัย |
|
เม็ดเลือดและกิจกรรมของฟีนอลออกซิเดส ในวงจรการลอกคราบของปูทะเล is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.