ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าตีนจกไท-ยวนในจังหวัดราชบุรี |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | วรรณา โชคบรรดาสุข |
เจ้าของผลงานร่วม | กุลยา อนุโลก , วรลักษณ์ ทองประยูร |
คำสำคัญ | การถ่ายทอด;ภูมิปัญญา;ผ้าตีนจกไท-ยวน |
หน่วยงาน | คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษารวบรวมองค์ความรู้ด้านลวดลายผ้าตีนจกไท-ยวนในจังหวัดราชบุรี และทำการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าตีนจกไท-ยวนสู่ช่างทอรุ่นใหม่ พบว่า ลวดลายผ้าตีนจกซึ่งเป็นลายดั้งเดิมของชาวไท-ยวนราชบุรี มี 8 ลายคือ ดอกเซีย กาบ หน้าหมอน โก้งเก้ง กาบดอกแก้ว โก้งเก้งซ้อนเซีย กาบซ้อนหัก และหักนกคู่ ส่วนกลุ่มบ้านคุณยายซ้อน กำลังหาญ ลักษณะของลวดลายและการเรียกชื่อลาย มีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่มี 8 ลายเข่นเดียวกัน ได้แก่ เซียซ้อนหัก เซียซ้อนเซีย หักซ้อนหัก โก้งเก้ง หน้าหมอน เกี้ยวซ้อนกาบ ซ้อนกาบ และหักดำ ได้มีการรวบรวมลายกราฟของผ้าตีนจกแล้วจัดเก็บอย่างเป็นระบบด้วยการจัดทำเป็นคู่มือการทอผ้าตีนจกไท-ยวนราชบุรี เผยแพร่ถ่ายทอดคู่มือไปยังกลุ่มคนที่สนใจ และจัดฝึกอบรมให้กับช่างทอผ้าตีนจกรุ่นใหม่ จำนวน 15 คน ผลการฝึกอบรม พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ในการทอผ้าเพิ่มขึ้น สามารถทอผ้าตีนจกลายพื้นได้ และรู้จักลวดลายผ้าตีนจกมากขึ้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://ar.or.th/ImageData/Magazine/10041/DL_EN_10244.pdf?t=637100804225227191 |
สาขาการวิจัย |
|
การถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าตีนจกไท-ยวนในจังหวัดราชบุรี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.