ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อยกระดับการแข่งขันของ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตามแนวทางพระราชดำริ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สุทธิพร ธเนศสกุลวัฒนา
เจ้าของผลงานร่วม นายนเรศ ใหญ่วงศ์ , ดร.ธนพล แสงสุวรรณ . , นางสาวน้ำทิพย์ เรืองดี , นางสาวศิริพร นิลาศทุกข์
คำสำคัญ การจัดทำมาตรฐานอาหาร;หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีการผลิตอาหาร;ผู้ประกอบการ;กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อยกระดับการแข่งขันของ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตามแนวทางพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่องการจัดทำมาตรฐานอาหารเรื่อง การจัดทำมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารตามที่กฎหมายกำหนด ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practice: GMP) และกระบวนการจัดทำฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ให้ผู้ประกอบและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดเชียงราย โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการ มุ่งมั่นจัดทำมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร จากนั้นได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการจัดทำมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารตามที่กฎหมายกำหนด จนถึงระดับสากล และเรื่องการจัดทำฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ รวมทั้งส่งเสริมผู้ประกอบการต้นแบบในการยื่นขออนุญาตมาตรฐานอาหาร พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ 27 กลุ่มผู้ประกอบการ รวม 139 คน หลังการอบรมกลุ่มเป้าหมายได้นำองค์ความรู้ไปใช้ อยู่ในช่วงทดลองปฏิบัติ แต่มีผู้ประกอบการที่สามารถพัฒนาสถานที่ผลิตอาหารจนได้รับอนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร ตามหลัก GMP และเลขสารบบอาหาร (เลขที่ อย.) จากกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 ผู้ประกอบการ ได้แก่ บริษัท สยามริเวอร์ฟู๊ด จำกัด และบริษัท การพัฒนาอาหารไท่ฉีหยวน จำกัด และกำลังอยู่ในกระบวนการยื่นขออนุญาตอีก 1 ผู้ประกอบการได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูแลพัฒนาส่งออก ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร ตามหลัก GMP และได้รับเลขที่ อย. สามารถเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในท้องตลาดได้ และมีแนวโน้มทางการตลาดดีขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งพาตัวเองได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร ตามหลัก GMP ที่ได้รับ ยังเป็นขั้นพื้นฐานในการพัฒนาให้เป็นระบบ GMP สากล, ระบบ HACCP, ISO 22000 และ ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ได้ต่อไป
สาขาการวิจัย -

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง