ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การอนุรักษ์พันธุ์หวายนั่งอย่างยั่งยืน ในภูมิสังคมบ้านลาดสมบูรณ์ใหม่ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ผศ.ดร.วิชญ์ภาส สังพาลี |
เจ้าของผลงานร่วม |
ผศ.ดร.เนตรนภา อินสลุด ,
ผศ.ดร.ปรารถนา ยศสุข ,
ผศ.ดร.ขนิษฐา เสถียรพีระกุล ,
นาย นฤเบศน์ ดวงศรี |
คำสำคัญ |
หวายนั่ง;วัสดุเพาะ;การอนุรักษ์;ฟื้นฟู;การมีส่วนร่วม |
หน่วยงาน |
สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
ปีที่เผยแพร่ |
2563 |
คำอธิบาย |
ทำการศึกษาถิ่นนิเวศวิทยา การเพาะขยายพันธุ์ การปลูกฟื้นฟู ในพื้นที่ป่าเต็งรัง พบว่าพื้นที่ป่าเต็งรังที่มีการป้องกันไฟป่ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับคอรากเฉลี่ย ความสูงเฉลี่ย ความสูงสูงสุด น้ำหนักเหง้าของหวายนั่งในพื้นที่ที่ถูกรบกวนจากไฟป่าน้อยให้น้ำหนักสูงกว่า วัสดุเพาะชำพบว่าเมล็ดหวายนั่งมีสัดส่วนการงอกในทรายสูงที่สุด การส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดยการให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเพาะขยายพันธุ์ และมีตัวแทนเกษตรกรอาสา นำกล้าหวายไปปลูกเพื่อเก็บรักษาต้นพันธุ์ในพื้นที่ของเกษตรกรเอง |
สาขาการวิจัย |
|