ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การบูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิตสับปะรดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดราชบุรี |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชฎาพร โพคัยสวรรค์ |
คำสำคัญ |
การบูรณาการ การผลิตสับปะรด คุณภาพชีวิต เกษตรกร จังหวัดราชบุรี |
หน่วยงาน |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 46/3 ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 70150 |
ปีที่เผยแพร่ |
2563 |
คำอธิบาย |
กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกษตรกรให้ปลูกสับปะรดอย่างมีคุณภาพตามระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สับปะรดบ้านคาเพื่อขอใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 2) ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรนำ พด.7 มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เอนไซม์ร่วมได้ด้วยตนเองเพื่อแก้ปัญหาโรคเหี่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ 3) นำความรู้ด้านการศึกษาต้นทุน การวางแผนการผลิตและการบริหารจัดการการตลาดของ smart farmer ต้นแบบ ไปใช้เพื่อยกระดับการผลิตและการบริหารจัดการผลผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดราชบุรี 4) ถ่ายทอดรูปแบบการจัดการดินชุดที่ 44 ในจังหวัดราชบุรีก่อนการลงหน่อพันธุ์สับปะรดเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี 5) ถ่ายทอดรูปแบบการปลูกสับปะรดที่มีผลต่อความหวานให้กับเกษตรกรจังหวัดราชบุรี 6) ถ่ายทอดนวัตกรรมการผลิตน้ำส้มสายชูหมักสับปะรดและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากน้ำส้มสายชูหมักสับปะรด 7) สร้างและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่ายสับปะรดผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรด และ 8) ประชาสัมพันธ์การใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับสับปะรดผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสับปะรดที่ส่งเสริมภาพลักษณ์และสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของสับปะรดจังหวัดราชบุรี พื้นที่ในการทำกิจกรรม ได้แก่ ตำบลบ้านคา ตำบลบ้านบึง และตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดของอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี จำนวน 201 คน วิธีการดำเนินงาน ได้แก่ 1) การฝึกอบรม 2) การศึกษาดูงาน 3) การฝึกปฏิบัติ และ 4) การประชุม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการติดตามความก้าวหน้าในการนำไปใช้จริง เครื่องมือที่ใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้แก่ คู่มือปฏิบัติงานแผ่นพับ วีดีโออินโฟร์กราฟิก ผังกระบวนการ และวัสดุต้นแบบ
ผลการดำเนินงาน มีดังนี้
1. เกษตรกรเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้หลังจากได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทุกวัตถุประสงค์ของโครงการ ร้อยละ 100 ( =4.34, SD=0.53)
2. เกษตรกรเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะและความสามารถหลังจากได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทุกวัตถุประสงค์ของโครงการ ร้อยละ 100 ( =4.30, SD=0.78)
3. เกษตรกรเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม (การนำความรู้ความสามารถไปใช้ประโยชน์) โดยนำไปปฏิบัติ ร้อยละ 86.15 ไม่นำไปปฏิบัติ ร้อยละ 0.64 และนำไปทดลองใช้ ร้อยละ 13.20
4. เกษตรกรเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการลดต้นทุนการผลิตได้ ร้อยละ 66.50 ไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ร้อยละ 2 และยังไม่เห็นผลชัดเจน ร้อยละ 31.50
5. เกษตรกรเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้ดีขึ้น ร้อยละ 56.45 ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพผลผลิตได้ ร้อยละ 7.74 และยังไม่เห็นผลชัดเจน ร้อยละ 35.80
6. เกษตรกรเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาการตลาดให้ดีขึ้น ร้อยละ 64.61 ไม่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ร้อยละ 5.38 และยังไม่เห็นผลชัดเจน ร้อยละ 30
7. เกษตรกรเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 78.12 รายได้ไม่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.25 และยังไม่เห็นผลชัดเจน ร้อยละ 20.62
8. เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อการดำเนินการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จำนวน 8 แห่ง
9. เกษตรกรเริ่มเปลี่ยนมุมและทัศนคติจากการปลูกสับปะรดด้วยแนวทางเดิม ๆ หันมาใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดจากการวิจัยในการปลูกสับปะรดแทน |
สาขาการวิจัย |
|