ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวจากวัสดุเศษเหลือใช้ ปลายข้าวกล้องหอมมะลิและไรซ์เบอร์รี่จากกระบวนการแปรรูปข้าวอินทรีย์ ในพื้นที่จังหวัดนครพนม
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง หทัยกาญจน์ กกแก้ว
เจ้าของผลงานร่วม นิสากร ศรีธัญรัตน์ , กฤติกา ชุณห์วิจิตรา
คำสำคัญ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าว;กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่;วัสดุเศษเหลือใช้ปลายข้าว;ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลายข้าวเพื่อสุขภาพ;คุณค่าทางโภชนาการ;คุณสมบัติทางเภสัชวิทยา
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยนครพนม
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวอินทรีย์เป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดนครพนม การเพิ่มมูลค่าให้กับปลายข้าวอินทรีย์โดยนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีประโยชน์ทั้งทางด้านโภชนาการและสามารถป้องกันโรคและรักษาสุขภาพซึ่งจะทำให้วิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวมีศักยภาพในด้านการผลิตและการตลาด โครงการถ่ายทอดพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวจากวัสดุเศษเหลือใช้ปลายข้าวกล้องหอมมะลิและไรซ์เบอร์รี่จากกระบวนการแปรรูปข้าวอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดนครพนม พบว่า มีวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการการแปรรูปข้าวเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการจานวน 21 หน่วยงาน ผู้เข้าอบรม 72 คน ตลอดการดำเนินงานของโครงการถ่ายทอดและส่งเสริมการนาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์สู่ชุมชนและสังคม ตามพระราชดำริฯ เพื่อช่วยแก้ไข การพัฒนาศักยภาพ ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง และยกระดับระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวจากวัสดุเศษเหลือใช้ปลายข้าวจากกระบวนการสีข้าวให้สามารถช่วยลดต้นทุนด้านวัตถุดิบ และการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือใช้ในท้องถิ่น การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1) ต้นน้ำ คือ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านวิชาการ 2) กลางน้ำ คือ การติดตามและประเมินการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์หลังการฝึกอบรมของกลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปข้าวและผลิตภัณฑ์อาหาร และ 3) ปลายน้ำ คือ กลุ่มวิสาหกิจสามารถพัฒนาแนวคิดผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อวางจำหน่ายในท้องตลาดอย่างยั่งยืน ทำให้ผลการสรุปการดำเนินงานตลอดโครงการบรรลุเป้าหมายของผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการที่กำหนดไว้ตามตัวชี้วัด 10 ข้อ ดังนี้ 1) จำนวนกลุ่มวิสาหกิจและกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ และผู้ประกอบการด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารเข้าร่วมโครงการ 21 หน่วยงาน (มากกว่าค่าเป้าหมาย 11 หน่วยงาน) 2) จำนวนหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครพนม 3) จำนวนผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งหมด 72 คน (มากกว่าค่าเป้าหมาย 12 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.00) 4) จำนวนเครือข่ายในการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ 1 เครือข่าย คือ เครือข่ายการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากข้าวจังหวัดนครพนม 5) ผู้เข้ารับการอบรมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์จริงร้อยละ 100 6) ระยะในการดำเนินโครงการ 8 เดือน 7) เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการพัฒนาพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 90.28 8) มีความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ ผู้ร่วมโครงการสามารถเพิ่มรายได้ไม่ต่ากว่าร้อยละ 10 คิดเป็นร้อยละ 72.22 9) จานวนนักถ่ายทอดเทคโนโลยี 14 คน และ10) ความพึงพอใจของผู้รับการถ่ายทอดฯ ร้อยละ 91.45 ค่าคะแนนระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 4.58 ระดับความพึงพอใจมากที่สุด ดังนั้นการดาเนินโครงการครั้งนี้ทาให้เพิ่มมูลค่าให้กับปลายข้าวกล้องอินทรีย์ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนสีข้าวอินทรีย์ที่มีมูลค่าต่าแต่มีคุณค่าทางโภชนาการและสามารถป้องกันโรคซึ่งจะนาไปสู่การสร้างรายได้และความยั่งยืนให้กับชุมชนต่อไป
สาขาการวิจัย -

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง