ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การประยุกต์ใช้แบบจำลอง CSM-CERES-Rice เพื่อประเมินลักษณะทางสรีรวิทยาที่สัมพันธ์กับผลผลิตข้าว
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พรเพ็ญ สมจิตร์
เจ้าของผลงานร่วม นิตยา ผกามาศ
คำสำคัญ ลักษณะทางสรีรวิทยา;แบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าว;อัตราการเจริญเติบโต
หน่วยงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การประเมินแบบจำลอง CSM-CERES-Rice ในการจำลองลักษณะทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการให้ผลผลิตของข้าว โดยเปรียบเทียบข้อมูลภาคสนามที่ได้จากการทดลองใช้ข้าวไม่ไวแสง 7 พันธุ์ประกอบด้วย ชัยนาท 1, สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 2, สุพรรณบุรี 3, ปทุมธานี 1, ปทุมธานี 80 และพิษณุโลก 2 ทำการปักดำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2553 (วันปลูกที่ 1), 15 สิงหาคม 2553 (วันปลูกที่ 2) และ 16 มกราคม 2554 (วันปลูกที่ 3) ใช้กล้าจำนวน 3 ต้นต่อกอ ระยะปักดำ 25´25 เซนติเมตร บันทึกข้อมูลดิน ข้อมูลอากาศ ข้อมูลการจัดการ และข้อมูลพืชในทั้ง 3 วันปลูก ใช้แบบจำลอง CSM-CERES-Rice จำลองสถานการณ์เหมือนกับสภาพการปลูกจริงในแปลงทดลองทุกประการ และประเมินความสอดคล้องระหว่างค่าจากการจำลองและค่าสังเกตจริง โดยใช้ค่า coefficient of determination (R2), normalized root mean square error (RMSEn) และ index of agreement (d) ผลการศึกษาพบว่าแบบจำลองสามารถนำมาใช้ในการประเมิน CGR, LAI และ SLA ของข้าวได้ค่อนข้างดีในทุกวันปลูก โดยเฉพาะ CGR ที่ระยะ 45 วันหลังปักดำถึงเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นระยะที่มีความสำคัญต่อการให้ผลผลิตของข้าวไม่ไวแสงมากที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=07%20Pornpen.pdf&id=1125&keeptrack=10
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การประยุกต์ใช้แบบจำลอง CSM-CERES-Rice เพื่อประเมินลักษณะทางสรีรวิทยาที่สัมพันธ์กับผลผลิตข้าว is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง