ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง อิทธิพลของ endophytic Streptomyces ไอโซเลท P4 และ Bradyrhizobium japonicum USDA 110 ต่อการเกิดปม การตรึงไนโตรเจน และผลผลิตของถั่วเหลือง [Glycine max (L.) Merrill]
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วัลลีย์ อาศัย
เจ้าของผลงานร่วม วิภา หอมหวล , สิริรัตน์ แสนยงค์ , อำพรรณ พรมศิริ
คำสำคัญ endophytic actinomycetes;Rhizobium;ดัชนียูรีไอด์สัมพัทธ์;การผลิตถั่วเหลือง
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษาผลของการใช้ endophytic Streptomyces ไอโซเลท P4 กับ Bradyrhizobium japonicum USDA 110 ต่อการเกิดปม การตรึงไนโตรเจน และผลผลิตของถั่วเหลือง โดยทดลองในกระถางกับถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 2 มี 8 กรรมวิธีได้แก่ กรรมวิธีควบคุมซึ่งไม่ใส่เชื้อจุลินทรีย์และปุ๋ยไนโตรเจน และอีก 7 กรรมวิธีที่ใส่ B. japonicum USDA 110 endophytic Streptomyces ไอโซเลท P4 ปุ๋ยไนโตรเจนทั้งใส่เดี่ยว และใส่ร่วมกัน จากการศึกษาพบว่า การใส่ B. japonicum USDA 110 endophytic Streptomyces ร่วมกับ endophytic Streptomyces ไอโซเลท P4 ส่งผลให้น้ำหนักแห้งเหนือดิน น้ำหนักแห้งปม และน้ำหนักแห้งรวมของถั่วเหลือง ในระยะเจริญเติบโต และระยะเจริญพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำหนักแห้งปมเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีผลต่อน้ำหนักแห้งรากทั้ง 2 ระยะ สำหรับการตรึงไนโตรเจน พบว่าการใส่ B. japonicum USDA 110 endophytic Streptomyces ร่วมกับ endophytic Streptomyces ไอโซเลท P4 เพิ่มค่าดัชนียูรีไอด์สัมพัทธ์ เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนที่ได้จากการตรึงตลอดฤดูปลูก ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่สะสมและปริมาณไนโตรเจนที่ได้จากการตรึง ส่วนผลผลิตในระยะเก็บเกี่ยวพบว่า ค่าเฉลี่ยของจำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก และผลผลิตเมล็ดของถั่วเหลืองทุกกรรมวิธีไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความเป็นได้ที่จะนำ endophytic Streptomyces ไอโซเลท P4 มาใช้ร่วมกับ Bradyrhizobium japonicum USDA 110 เพื่อส่งเสริมการเกิดปม การตรึงไนโตรเจน และผลผลิตของถั่วเหลือง
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=11%20Wanlee.pdf&id=1129&keeptrack=9
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง