ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | เปรียบเทียบปัจจัยที่มีต่อการงอกของเมล็ดวัชพืชต่างถิ่นสกุลผักเผ็ดแม้ว ในประเทศไทย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | โองการ วณิชชีวะ |
คำสำคัญ | ผักเผ็ดแม้ว;วัชพืชต่างถิ่น;การงอกของเมล็ด |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาครั้งนี้ได้ทดลองเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดผักเผ็ดทั้งสามชนิด (ผักเผ็ดแม้วดอกแดง, ดอกฟ้า, ดอกม่วง) เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงปัจจัยและสภาวะแวดล้อม ที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดผักเผ็ดทั้งสามชนิด เพื่อช่วยให้เข้าใจถึงรูปแบบการขยายพันธุ์และกลยุทธ์ในการจัดการวัชพืช กลุ่มนี้อย่างยั่งยืน จากการศึกษาพบว่า ในสภาพมีแสงและไม่มีแสง ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส พบว่าในภาวะไม่มีแสงการงอกของเมล็ดพืชในกลุ่มนี้ไม่ดีต่างจากการงอกที่มีแสงจะได้ 86.6%, 85.5%, 12.23% และเมื่อให้แสง 12 ชั่วโมงสลับกับความมืด 12 ชั่วโมง พบว่า ผลการงอกที่ได้เป็น 89.13%, 88.76%, 13.52% สำหรับผักเผ็ดแม้วดอกแดง ดอกฟ้า และดอกม่วง ผลการทดลองเรื่องความแตกต่างจากอุณหภูมิในช่วง 15-45 องศาเซลเซียสพบว่าที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส จะให้ผลการงอกดีที่สุด ผลการงอกของเมล็ดในสภาวะที่มีค่าพีเอชในช่วง 2-12 พบว่าอัตราการงอกสูงสุดของเมล็ดจะพบในค่าพีเอช 7 ผลการงอกของเมล็ดที่ความชื้นในดินระหว่าง 5-40% พบว่าในช่วง 20-40% จะให้อัตรางอกของเมล็ดที่ดีที่สุด จากการศึกษาระดับการฝังตัวที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพบว่า ที่ระดับผิวดินจะให้อัตรา 63%, 60% และ 12% ของการงอกในผักเผ็ดแม้วดอกแดง ดอกฟ้า และดอกม่วง แต่จะไม่พบ การงอกในความลึกการฝังตั้งแต่ 8 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบอายุของการเก็บเมล็ดที่ 300 วัน พบว่าอัตราการงอกจะลดลงเมล็ดตามอายุการเก็บ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าผัก เผ็ดแม้ว สามารถงอกและเจริญได้ในสภาวะแวดล้อมที่มีความหลากหลาย |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=13%20Ongkarn.pdf&id=1131&keeptrack=10 |
สาขาการวิจัย |
|
เปรียบเทียบปัจจัยที่มีต่อการงอกของเมล็ดวัชพืชต่างถิ่นสกุลผักเผ็ดแม้ว ในประเทศไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.