- อัจฉริยา สุริยา
- 334 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาวัสดุพอกไข่เค็มจากเยื่อฟางข้าว |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุภกาญจน์ พรหมขันธ์ |
เจ้าของผลงานร่วม | ศุกฤชชญา เหมะธุลิน |
คำสำคัญ | ไข่เค็ม;เยื่อฟางข้าว;โซเดียมไฮดรอกไซด์;สมุนไพร |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาเพื่อลดปริมาณการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ ในขั้นตอนการต้มสกัดเยื่อฟางข้าว จากการทดลองพบว่า เยื่อฟางข้าวคุณภาพสูงมีกรรมวิธีในการผลิตคือ แช่ฟางในสารละลายยูเรีย ความเข้มข้น ร้อยละ 10 นาน 10 วัน ร่วมกับการต้มในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ร้อยละ 5 ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 40 นาที สามารถลดปริมาณการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ ตามวิธีการเดิม จากร้อยละ 20 เหลือเพียง ร้อยละ 5 โดยเยื่อฟางข้าวที่ได้มีปริมาณเส้นใยหยาบ ร้อยละ 82.73 และพบว่าไข่แดงของไข่เค็มที่พอกด้วยเยื่อฟางข้าวที่พัฒนาได้มีค่ามุมของสี 8.37 มีความเป็นสีแดงมากกว่าไข่เป็ดที่พอกด้วยเยื่อฟางข้าวแบบเดิม และมีคุณลักษณะภายในของไข่ตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนไข่เค็มคือ ไข่ขาวต้มสุกมีสีขาว เนื้อนิ่ม เรียบ ไม่กระด้าง ส่วนไข่แดงมีสีเข้ม มีค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ 0.96 อีกทั้งมีการปนเปื้อนของสารตะกั่ว และปรอท ในระดับต่ำเพียง 0.031 มก./กก. และ 0.0027 มก./กก. ซึ่งแสดงว่าผลิตภัณฑ์ไข่เค็มพอกด้วยเยื่อฟางข้าวที่พัฒนาได้มีความปลอดภัยต่อการบริโภค ตลอดจนมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์ และรา ในปริมาณน้อยกว่า 10 ซีเอฟยู/ก. และไม่พบเชื้อ Salmonella spp. Clostridium perfrigens และ Staphylococcus aureus ปนเปื้อน |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=08%20Supakarn.pdf&id=1147&keeptrack=7 |
สาขาการวิจัย |
|
การพัฒนาวัสดุพอกไข่เค็มจากเยื่อฟางข้าว is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.