ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การศึกษากระบวนการแยกสารชีวภาพที่มีราคาถูกสำหรับการสกัดและทำบริสุทธิ์ของพอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผศ.ดร.ณัฐพล ถนัดช่างแสง
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.ดร.เฟื่องฉัตร จรินทร์ธนันต์
คำสำคัญ พอลิไฮดรอกซิแอลคาโนเอต;, การแยกสารชีวภาพ;การสกัดและทำบริสุทธิ์ของพอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต;แบคทีเรียที่สะสมพลาสติกชีวภาพ;เทคโนโลยีสะอาด
หน่วยงาน วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย โครงการวิจัยนี้ได้พัฒนากระบวนการแยกสารชีวภาพของพอลิเมอร์พลาสติกชีวภาพออกจากน้ำเลี้ยงเซลล์แบคทีเรีย Ralstonia eutropha ที่ใช้ในการสังเคราะห์ polyhydroxybutyrate (PHB) ด้วยสารสร้างตะกอน (coagulant) เพื่อใช้ในการทดแทนการแยกสารด้วยวิธีปั่นเหวี่ยง ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนที่เกิดจากการใช้เครื่อง centrifuge ในกรณีที่ต้องการผลิตในระดับอุตสาหกรรม โดยใช้สาร cationic polymer สามารถใช้ในการแยกสารเพื่อผลิตเป็น PHB ได้ด้วยวิธีการเจือจางน้ำเลี้ยงจากกระบวนการเพาะเลี้ยงให้อยู่ในระดับความเข้มข้นที่ต่ำ (OD ประมาณ 30) โดยใช้ปริมาณ cationic polymer 2.67 mg/mL เติมเข้าไปเพื่อให้แบคทีเรียตกตะกอนได้เกือบทั้งหมด ซึ่งสภาวะนี้มีประสิทธิภาพในการแยกสารชีวภาพและใช้ทดแทนการปั่นแยกด้วยวิธีการปั่นเหวี่ยง เพื่อลดต้นทุนในกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกชีวภาพได้ในอนาคต
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง