ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การสร้างมาตรฐานต้นแบบการจัดการฟาร์มจิ้งหรีดให้ถูกต้อง ตามหลักสุขอนามัยเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพของวิสาหกิจ ชุมชนผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านมะค่า |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัณฑนา นครเรียบ |
คำสำคัญ | ฟาร์มจิ้งหรีด;มาตรฐานต้นแบบ;จิ้งหรีดทอด |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การสร้างมาตรฐานต้นแบบการจัดการฟาร์มจิ้งหรีดให้ถูกต้องตามหลักสุขอนามัย สรุปผลได้ดังนี้ ได้ฟาร์มมาตรฐานต้นแบบที่ถูกต้องตามหลักสุขอนามัยและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ จำนวน 5 ฟาร์ม คู่มือเบื้องต้นแนวทางปฏิบัติเรื่อง การสร้างมาตรฐานต้นแบบ การเลี้ยงด้วยอาหารไก่เล็กผสมมันหมักยีสต์ได้กำไรมากกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารไก่เล็กเพียงอย่างเดียว สมุนไพรที่ใช้ในการแปรรูปจิ้งหรีดทอดจะใช้ 2 ชนิด ได้แก่ ใบมะกรูดและใบเตยหอม จิ้งหรีดทอดคลุกผงปรุง รสชาติต่างๆ และผงโรยข้าวแมงสะดิ้ง ได้ค่าคะแนนความชอบโดยรวม ตามลำดับ คุณค่าทางโภชนาการของแมงสะดิ้งทอดรสชาติต่างๆ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงมิถุนายน พบว่า ประกอบไปด้วยโปรตีน ไขมัน กรดไขมันอิ่มตัว ไคติน แคโรทีนอยด์ ฟีนอลิกรวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก โปแตสเซียม วิตามินบี1 และวิตามินบี 2 แมงสะดิ้งทอดจากฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการรสปาปริก้ามีแนวโน้มที่จะเกิด ความหืนได้เร็วกว่าและมีค่าคอเลสเตอรอลสูงกว่าผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ การใส่วัตถุดูดออกซิเจนในถุงบรรจุภัณฑ์ก็มีผลทำให้การเสื่อมของคุณค่าทางโภชนาการของจิ้งหรีดทอดคลุกผงปรุงรสชาติต่างๆ ช้าลงกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้ใส่วัตถุดูดออกซิเจน |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://new.research.doae.go.th/wp-content/uploads/7.รายงานฉบับสมบูรณ์-ฟาร์มจิ้งหรีด.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การสร้างมาตรฐานต้นแบบการจัดการฟาร์มจิ้งหรีดให้ถูกต้อง ตามหลักสุขอนามัยเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพของวิสาหกิจ ชุมชนผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านมะค่า is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.