- ฐะณุพงศ์ ศรีกาฬสินธุ์
- 459 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | รังสีจากโทรศัพท์มือถือรุนแรงจนมือไหม้ และทำลายเซลล์สมองได้หรือ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ หลิมกำเนิด |
คำสำคัญ | รังสีจากโทรศัพท์มือถือ;/โทรศัพท์มือถือ;เซลล์สมอง |
หน่วยงาน | ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2558 |
คำอธิบาย | คลื่นที่ใช้สื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นรังสีหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงไมโครเวฟ มีความถี่ประมาณ 800 – 2,500 MHz โดยมีกำลังส่งเพียงแค่ 1-2 วัตต์ จะไม่ได้ทำให้เซลล์ในร่างกายของมนุษย์เกิดความผิดปกติแบบทันทีทันใด ยกเว้นแต่จะได้รับคลื่นนั้นเป็นระยะเวลานาน ผลการวิจัยได้ข้อสรุปว่า การใช้โทรศัพท์มือถือตามปกติทั่วไปไม่ได้เพิ่มโอกาสในการเป็นเนื้องอกที่สมองให้มากขึ้น แต่การใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง เช่น ใช้มากกว่า 30 นาทีต่อวัน เป็นเวลากว่า 10 ปีจะเพิ่มโอกาสเป็นเนื้องอกสมองให้มากขึ้นถึง40% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือ ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจึงควรใช้หลักการปลอดภัยไว้ก่อน ควรหลีกเลี่ยงการคุยโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานเกินไป คุยเป็นเวลาสั้นๆ ในแต่ละครั้ง ควรใช้หูฟังสมอลทอล์ก หรือเปิดใช้สปีกเกอร์โฟนเพิ่มระยะห่างระหว่างสมองและมือถือ และไม่ควรให้เด็กเล็กใช้โทรศัพท์มือถือ การใช้โทรศัพท์ขณะที่ชาร์จแบตเตอรี่ ไม่ได้ทำให้เกิดการแผ่รังสีมากขึ้นเป็นร้อยเท่าพันเท่าอย่างที่ลือกัน กรณีที่แบตเตอรี่เกิดระเบิดขึ้นระหว่างชาร์ทจนั้น มักเกิดจากการใช้แบตเตอรี่และแท่นชาร์จที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ทำให้มีโอกาสที่กระแสไฟฟ้าจะช็อร์ตและเกิดการระเบิดขึ้นได้ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.youtube.com/watch?v=JSWG3rB6MA8 |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ | ด้านวิชาการ |
สาขาการวิจัย |
|
รังสีจากโทรศัพท์มือถือรุนแรงจนมือไหม้ และทำลายเซลล์สมองได้หรือ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.