ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การผลิตและการจัดการความรู้ของสารจับใบพืชทางชีวภาพในทางปฏิบัติทางที่ดีสำหรับการเกษตร แบบอินทรีย์ของจังหวัดสุรินทร์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ประดับ เรียนประยูร
เจ้าของผลงานร่วม วรรธนะชัย ปฐมสิริวงศ์ , สยาม อรุณศรีมรกต , สมนึก จงเสริมตระกูล
คำสำคัญ สารจับใบข้าวทางชีวภาพ;ผลผลิตข้าว;จุลินทรีย์ท้องถิ่น;นาข้าวจังหวัดสุรินทร์;การจัดการความรู้ในทางปฏิบัติทางที่ดีสำหรับทำนา;Trichoderma
หน่วยงาน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 186 ถ.สุรินทร์-ปราสาท ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย จังหวัดสุรินทร์ทำการเกษตรเป็นหลักโดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์มีชื่อเสียงมากและเป็นที่ยอมรับกัน ในปัจจุบันคือข้าวอินทรีย์ เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเหมาะสม จึงทำให้ข้าวอินทรีย์มีคุณภาพ แต่กระนั้นการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ประสบปัญหาต่างๆ ในกระบวนการผลิตโดยเฉพาะการใช้สารเคมี เช่น สาร จับใบข้าวเพื่อใช้ร่วมกับสารชีวภัณฑ์อื่นๆ ในการกำจัดศัตรูข้าว ทั้งนี้ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ได้พยายามปรับเปลี่ยนมาใช้สารชีวภัณฑ์ต่างๆ แต่ทั้งนี้มีข้อจำกัดคือใบข้าวและใบพืชมีโครงสร้างของใบภายนอก ที่ทำหน้าที่ป้องกันเป็นอย่างดี เช่น ขนที่แผ่นใบ (Trichome), ไขเคลือบผิว (Wax) หรือส่วนคิวทิเคิล (Cuticle), เนื้อเยื่อชั้นผิว (Epidermis) ซึ่งที่มีทั้งเซลล์คอร์ก (Cork cell) และซิลิกาบอดี (Silica bodies) ร่วมด้วย ทำให้การใช้สารชีวภัณฑ์ต่างๆ ไม่สามารถจับติดหรือเกาะกับต้นข้าวหรือต้นพืชได้นานพอ และไม่สามารถเข้าสู่โครงสร้างภายในหรือแทรกซึมเพื่อทำลายเชื้อก่อโรคได้ จึงไม่สามารถกำจัดศัตรูข้าวได้ทันตามระยะเวลาการเกิดโรค ดังนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จึงหันมาใช้สารจับใบพืชร่วมด้วย ได้แก่สารเคมีกลุ่ม Tetradecyl trimethyl ammonium bromide (กลุ่ม Cationic), Lauryl sulphate (กลุ่ม Anionic) และ Tween 80 (กลุ่ม Non-ionic) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในปัจจุบัน หรือบางชนิดที่มีจำหน่ายตามตัวแทนที่อยู่ในทุกภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากสารเคมี มีราคาสูง และเมื่อนำมาใช้ร่วมกับสารชีวภัณฑ์ส่งผลให้สารชีวภัณฑ์นั้นอาจลดประสิทธิภาพหรือไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในแปลงนา ทำให้การเกิดปัญหาในการใช้งาน นอกจากนั้นสารจับใบทางด้านเคมีส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดการปนเปื้อน หรือตกค้างในผลิตทางการเกษตร ดังนั้นการผลิตสารจับใบทางชีวภาพ (Biosurfactant) สามารถนำมาแก้ไขปัญหาของเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์ที่เกษตรกรใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจากรายงานการวิจัยต่างๆ เป็นที่ยอมรับแล้วว่าการใช้สารลดแรงตึงผิวทางชีวภาพในฐานะที่เป็นสารจับใบทางชีวภาพเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเกษตร นอกจากช่วยในการจับใบเพื่อให้เชื้อราปฏิปักษ์สามารถเข้าไปทำลายเชื้อราก่อโรคแล้ว ยังช่วยยืดอายุของเชื้อราปฏิปักษ์ให้สามารถแพร่กระจายได้ครอบคลุมพื้นที่อันสามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคข้าวได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถปรับปรุงคุณภาพของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และคุณลักษณะที่เหมาะสมต่อการเกษตรมากขึ้น ดังนั้นการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสารจับใบทางชีวภาพนี้จะช่วยให้ลดต้นทุนในการผลิต และปัญหาการเปื้อนของสารเคมีในเกษตรอินทรีย์ ซึ่งในการตรวจสอบการปนเปื้อนสารเคมีแต่ละครั้งนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงและใช้ระยะเวลา นอกจากนั้นแล้วยังช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ชีวภัณฑ์ทางชีวภาพมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ยกระดับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดสุรินทร์
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การผลิตและการจัดการความรู้ของสารจับใบพืชทางชีวภาพในทางปฏิบัติทางที่ดีสำหรับการเกษตร แบบอินทรีย์ของจังหวัดสุรินทร์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง