ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง โครงการจัดการความรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้งานและการบำรุงรักษารถตัดอ้อยขนาดเล็กสู่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ มูลตรี
เจ้าของผลงานร่วม ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช , รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต
คำสำคัญ การใช้งานและการบำรุงรักษารถตัดอ้อยขนาดเล็ก;รถตัดอ้อยขนาดเล็ก;เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย
หน่วยงาน คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย อ้อยโรงงานเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม น้ำตาล เพื่อใช้บริโภคในประเทศและส่งออก ปี 2556 ไทยมีการบริโภคน้ำตาลในประเทศ 2.50 ล้านตัน ส่งออก 7.52 ล้านตัน มูลค่า 100,000 ล้านบาท คิดเป็นอันดับที่ 3 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ อ้อยโรงงานมีแหล่ง เพาะปลูกอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือของไทย ปี 2556 มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 8.26 ล้านไร่ ผลผลิต 100.10 ล้านตัน โดยมีแหล่งเพาะปลูกหลักอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 3.55 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 42.98 ของเนื้อที่เก็บเกี่ยวทั่วประเทศ ผลผลิต 40.27 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 40.23 ของ ผลผลิตทั่วประเทศ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) การผลิตอ้อยโรงงานระหว่างปี 2551/52-2555/56 ไทยมีเนื้อที่เพาะปลูก และผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.10 และ ร้อยละ 12.37 ตามลำดับ เนื่องจากภาครัฐมีการส่งเสริม ให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูก ประกอบกับราคาจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น (สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร, 2556) ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยโรงงานเกิดความต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะแรงงาน เก็บเกี่ยวอ้อยโรงงาน ซึ่งต้องใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมากและใช้ระยะเวลานาน แต่ในสภาวการณ์ปัจจุบัน แรงงานภาคเกษตรยังมีไม่เพียงพอ เนื่องจากโครงสร้างประชากรมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยสูงอายุ และแรงงาน รุ่นใหม่ขาดแรงจูงใจในการทำงานในภาคเกษตร เพราะเป็นงานหนัก มีรายได้ไม่แน่นอน และไม่มีสวัสดิการ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ส่งผลกระทบให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากภาคเกษตร เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม (ประกาย กิจธิคุณ, 2556) ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยโรงงานจัดหาแรงงานได้ยากขึ้น จึงหันมานิยมใช้วิธีการเผาใบอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว เพื่อลดปัญหาด้านแรงงาน สามารถตัดอ้อยโรงงานได้รวดเร็ว ทันฤดูการเปิดหีบของโรงงานน้ำตาล แต่วิธีดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมตามมามากมาย เช่น การเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ความอุดมสมบูรณ์ของดินถูกทำลาย นอกจากนี้การเผาใบอ้อยยังส่งผลให้ สูญเสียผลผลิต น้ำหนัก และคุณภาพความหวานของอ้อยโรงงานอีกด้วย วิธีการหนึ่งในการลดปัญหาแรงงานและการเผาใบอ้อย คือ การนำเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามา ใช้ โดยเฉพาะรถตัดอ้อย ซึ่งสามารถนำมาใช้ทดแทนแรงงานได้มากและช่วยลดปริมาณการเผาใบอ้อยลง ดังนั้นการใช้รถตัดอ้อยขนาดเล็ก ลดต้นทุนและผลตอบแทนระหว่างรถตัดอ้อยขนาดเล็กกับการใช้การใช้แรงงานคน เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจของเกษตรกรในการเลือกใช้รถตัดอ้อยขนาดเล็กได้อย่างเหมาะสม เมื่อนำรถตัดอ้อยขนาดเล็กมาใช้งานต้องมีการบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของรถตัดอ้อยขนาดเล็ก การอบรมความรู้รถตัดอ้อยขนาดเล็ก แนะนำการใช้งานและการบำรุงรักษาเบื้องต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดียิ่งขึ้นสู่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย เพื่อเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตและเป็นแนวทางการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


โครงการจัดการความรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้งานและการบำรุงรักษารถตัดอ้อยขนาดเล็กสู่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง