ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลของการเตรียมดิน การใส่เพอร์ไลต์ และการแกะตาท่อนพันธุ์ที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และปริมาณแป้งมันสำปะหลังเมื่อปลูกในดินชุดร้อยเอ็ด |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สมโภชน์ แก้วระหัน |
เจ้าของผลงานร่วม | อนันต์ พลธานี , สงัด ปัญญาพฤกษ์ , อรุณี พรมคำบุตร |
คำสำคัญ | มันสำปะหลัง;ขุดหลุมปลูก;แกะตาท่อนพันธุ์ |
หน่วยงาน | หาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาผลของการเตรียมดิน การใส่เพอร์ไลต์ และแกะตาท่อนพันธุ์ที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลังที่ปลูกในดินชุดร้อยเอ็ด ทำการศึกษาที่สถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรมร้อยเอ็ด อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้แผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 4 กรรมวิธีคือ (1) ไถพรวน 2 ครั้ง ไม่แกะตาท่อนพันธุ์ (M1) (2) ไถพรวน 2 ครั้ง ขุดหลุม และไม่แกะตาท่อนพันธุ์ (M2) (3) ไถพรวน 2 ครั้ง ขุดหลุม แกะตาท่อนพันธุ์ (M3) และ (4) ไถพรวน 2 ครั้ง ขุดหลุม ใส่เพอร์ไลต์ และแกะตาท่อนพันธุ์ (M4) ทุกกรรมวิธีใส่ปุ๋ยชีวภาพอัตรา 400 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า การเตรียมดินโดยการไถพรวน 2 ครั้ง ขุดหลุมปลูก การใส่เพอร์ไลต์ และแกะตาท่อนพันธุ์ ไม่มีผลทำให้การเจริญเติบโต น้ำหนักต้นแห้ง น้ำหนักใบแห้ง มีความแตกต่างทางสถิติที่อายุ 12 เดือน แต่มีผลทำให้น้ำหนักหัวแห้งต่อต้นมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลผลิตหัวสดต่อไร่ของมันสำปะหลังอายุ 12 เดือน ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่มีแนวโน้มว่า M2 ได้ผลผลิตมันสำปะหลังสูงสุด (6.9 ตันต่อไร่) |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=54.pdf&id=522&keeptrack=33 |
สาขาการวิจัย |
|
ผลของการเตรียมดิน การใส่เพอร์ไลต์ และการแกะตาท่อนพันธุ์ที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และปริมาณแป้งมันสำปะหลังเมื่อปลูกในดินชุดร้อยเอ็ด is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.