ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามระบบน้ำหมุนเวียนในบ่อดิน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุรังษี ทัพพะรังสี |
เจ้าของผลงานร่วม | สมหวัง พิมลบุตร , วารุณีย์ คันทรง |
คำสำคัญ | กุ้งก้ามกราม;ระบบน้ำหมุนเวียน;การอนุบาลในบ่อดิน;ความหนาแน่น |
หน่วยงาน | ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุพรรณบุรี |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามระบบน้ำหมุนเวียนในบ่อดิน จากลูกกุ้งคว่ำด้วยความหนาแน่น 3 ระดับ คือ 120, 240 และ 360 ตัวต่อตารางเมตร ระยะเวลาทดลอง 30 วัน พบว่า ระดับความหนาแน่นไม่แตกต่างทางสถิติด้านอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยและอัตราการรอดตาย ดังนั้นอัตราความหนาแน่นที่ควรใช้ในการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม คือ 360 ตัวต่อตารางเมตร ค่าคุณภาพน้ำโดยรวมอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของลูกกุ้ง ปริมาณแอมโมเนียรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.044 ±0.052, 0.045 ±0.053 และ 0.048 ±0.053 mg/l ปริมาณไนไตรท์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.033 ±0.023, 0.030 ±0.020 และ 0.038 ±0.019 mg/l ปริมาณไนเตรท มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.019 ±0.010, 0.020 ±0.008 และ 0.023 ±0.009 mg/l ตามลำดับ พรรณไม้น้ำสามารถที่จะใช้ลดปริมาณสารประกอบไนโตรเจน เช่น แอมโมเนีย หรือไนเตรท ได้ บัวสายจะเจริญเติบโตดีที่สุด ตามด้วยสาหร่ายหางกระรอกและลำเจียก |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.journal.rmutsb.ac.th/th/data_news/file/rmutsb-journal-20130613-pdf-316.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามระบบน้ำหมุนเวียนในบ่อดิน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.