ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การศึกษาการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในประเทศไทยและวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณผลผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาว
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พริยะ แสนรักษ์
เจ้าของผลงานร่วม พรธิภา องค์คุณารักษ์ , รวิพิมพ์ ฉวีสุข , จิรพรรณ เลี่ยงโรคาพาธ
คำสำคัญ ฟาร์มกุ้ง;มุมมองของเกษตรกร;ปัจจัยที่มีผลต่อผลผลิต;เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
หน่วยงาน มหาวิทยาลยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษารูปแบบการจัดการของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในภาคใต้และภาคตะวนออก พบว่า เกษตรกรทั้งสองภาคมีรูปแบบการจัดการฟาร์มที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ การวางแผนการเลี้ยงที่คํานึงถึงฤดูกาลและข้อมูลด้านภูมิอากาศ การจัดซื้อ ปัจจัยการผลิต เช่น ลูกกุ้ง และอาหารกุ้ง ที่พิจารณาจากชื่อเสียงฟาร์มหรือบริษัทเป็นหลัก ในการเลี้ยงเกษตรกรได้ใช้ลูกกุ้งที่มีอายุระหว่าง พี 10 – 15 ซึ่งเป็นไปตามหลักการ GAP (Good Aquaculture Practice) ยกเว้นความหนาแน่นในการลงกุ้งเฉลี่ย 120,000 ตัวต่อไร่ ซึ่งมากกว่าที่ GAP แนะนําไว้ที่ 80,000 ตัวต่อไร่ เกษตรกรทั้งสองภาคเห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกษตรกรประสบความสําเร็จในการเลี้ยงกุ้งคือ ความรู้ ประสบการณ์ และระบบการเลี้ยงที่ได้มาตรฐาน และปริมาณผลผลิตแปรผันตามปัจจัยดังนี้ การไม่มีน้ำท่วมบ่อ การเลือกอาหารกุ้งจากบริษัทขายอาหารที่น่าเชื่อถือ การเลี้ยงกุ้งที่ความหนาแน่นเกิน 80,000 ตัวต่อไร่ และการจดบันทึกอัตราการรอด
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.lib.ku.ac.th/KUCONF/data53/KC4806015.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง