ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการกินอาหาร คุณภาพน้ำและการใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติในการเลี้ยงปลานิลแดงในกระชังในบ่อดิน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รุ่งพฤทธิ์ จงเจริญสุข |
เจ้าของผลงานร่วม | วราห์ เทพาหุดี , เรืองวิชญ์ ยุ้นพันธ์ |
คำสำคัญ | ปลานิล;Oreochromis aureus;การเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง;การให้อาหารปลา;คุณภาพน้ำ;เครื่องให้อาหารสัตว์;การให้อาหาร;แอ่งน้ำ;แอมโมเนีย;ฟาร์มปลา;ประเทศไทย |
หน่วยงาน | ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | ปลานิลแดงมีอัตราการกินอาหารลดลงตามน้ำหนักตัวปลาที่เพิ่มขึ้น อัตราการกินอาหารของปลาที่ฟาร์มทดลองจะสูงกว่าปลาในห้องปฏิบัติการเนื่องจากปัจจัยด้านคุณภาพน้ำที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำกับการกินอาหารพบความสัมพันธ์ระหว่างแอมโมเนียรวม (TAN) กับการกินอาหารโดยการกินอาหารมีความสัมพันธ์เชิงลบกับค่าแอมโมเนียรวม โดยระดับของแอมโมเนียรวมที่ส่งผลกระทบต่อการกินอาหารของปลานิลแดงคือ ที่ระดับมากกว่า 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร การศึกษารูปแบบการให้อาหารที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ พบว่า การให้อาหารด้วยเครื่องให้อาหารอัตโนมัติ ให้ผลการเลี้ยงที่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) กับการเลี้ยงที่ให้อาหารด้วยมือ โดยเฉพาะเรื่องของต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนด้านกำไรจากการขายผลผลิต ลดแรงงานคนลงได้ การใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติควรใช้เฉพาะในช่วงเวลากลางวันดีกว่าการให้ตลอดทั้งวัน เนื่องจากในเวลากลางคืนปกติ จะมีปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำต่ำซึ่งอาจจะส่งผลต่อกินอาหารของปลานิลแดงและการใช้งานเครื่องให้อาหารอัตโนมัติจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการจัดการและระบบการเลี้ยงของสถานที่ต่างๆ ด้วย |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://kukr2.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr/search_detail/result/343250 |
สาขาการวิจัย |
|
ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการกินอาหาร คุณภาพน้ำและการใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติในการเลี้ยงปลานิลแดงในกระชังในบ่อดิน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.