ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลของเมลามีนและกรดไซยานูริคในอาหารปลานิลแดงแปลงเพศ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ประวิทย์ ชูช่วย
เจ้าของผลงานร่วม วุฒิพร พรหมขุนทอง
คำสำคัญ เมลามีน;กรดไซยานูริค;ปลานิลแดงแปลงเพศ
หน่วยงาน ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การทดลองเป็น 7 ชุดการทดลอง โดยผสมเมลามีนและกรดไซยานูริคลงในอาหาร คือ สูตรที่ 1 เป็นสูตรควบคุมไม่ใส่เมลามีนและกรดไซยานูริค สูตรที่ 2-5 ใส่เมลามีนและกรดไซยานูริคลงในอาหารตามระดับความเข้มข้นที่เท่ากัน ในแต่ละสูตรคือ 0.25, 0.50, 0.75 และ 1 เปอร์เซ็นต์ สูตรที่6 ใส่เมลามีนอย่างเดียว 1 เปอร์เซ็นต์ และสูตรที่ 7 ใส่กรดไซยานูริคอย่างเดียว 1 เปอร์เซ็นต์ใช้ปลาขนาดน้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 4.32 กรัมต่อตัว จำนวน 25 ต่อตัว ให้อาหาร วันละ 2 มื้อ พบว่า เมลามีนและกรดไซยานูริคที่เสริมในอาหารมีผลทำให้การเจริญเติบโตของปลาลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม โดยเฉพาะสูตรที่ 6 ใส่เมลามีนอย่างเดียว 1 เปอร์เซ็นต์ มีการเจริญเติบโตต่ำที่สุด อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อมีค่าเพิ่มสูงกว่าชุดควบคุม ยกเว้นสูตรที่ 7 ใส่กรดไซยานูริคอย่างเดียว 1 เปอร์เซ็นต์ จากการวิเคราะห์ปริมาณเมลามีนและกรดไซยานูริคที่ตกค้างในเนื้อปลาและเครื่องในรวม มีค่าอยู่ในช่วง 200-1,670, 80-4,950 และ 1,400-1,550, 130-1,440 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัวอย่าง ตามลำดับ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/%E0%B8%9D%E0%B8%AA%E0%B8%AA/research/2nd/FullPaper/SCI/Oral/O-ST%20006%20นายประวิทย์%20%20ชูช่วย%20.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง