ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การใช้อะเมซอนใบกลม (Echinodorus cordifolius) เพื่อบำบัดน้ำเสียจากระบบการเพาะเลี้ยงปลานิลแดงแปลงเพศ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง อานุช คีรีรัฐนิคม
เจ้าของผลงานร่วม สุภฎา คีรีรัฐนิคม , กฤษณะ เรืองคล้าย , พันธสิทธิ์ โชคสวัสดิกร
คำสำคัญ การบำบัดน้ำเสียจากการเลี้ยงปลา;อะเมซอนใบกลม
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยทักษิณ
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย ผลการทดลองการใช้อะเมซอนใบกลม (Echinodorus cordifolius) เพื่อบำบัดน้ำเสียจากระบบการเพาะเลี้ยงปลานิลแดงแปลงเพศ สรุปได้ว่า สามารถใช้ต้นอะเมซอนใบกลมมาใช้บำบัดน้ำเสียจากการเลี้ยงปลานิลแดงในระบบน้ำหมุนเวียนได้ดี โดยสามารถใช้ในระดับความหนาแน่น 8-12 ต้นต่อ 50 ลิตร (ประมาณ 30-60 กรัมพืชสดต่อ 50 ลิตร) ในระบบหมุนเวียนน้ำที่อัตราการถ่ายเท 10 % ของปริมาตรเลี้ยงต่อวัน จะสามารถลดปริมาณแอมโมเนีย ไนไตรท์ และไนเตรทได้ ขณะที่การปลูกต้นอะเมซอนใบกลมลงในบ่อเลี้ยงปลาโดยตรงในระดับความหนาแน่น 6 ต้นต่อ 500 ลิตร (300 กรัมพืชสดต่อ 500 ลิตร) จะมีผลช่วยให้ปริมาณแอมโมเนียในน้ำลดลงต่ำกว่าชุดควบคุมได้ในสัปดาห์ที่ 8
ข้อมูลเพิ่มเติม http://kb.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3258/1/อานุช%20คีรีรัฐนิคม%2000194534.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การใช้อะเมซอนใบกลม (Echinodorus cordifolius) เพื่อบำบัดน้ำเสียจากระบบการเพาะเลี้ยงปลานิลแดงแปลงเพศ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง