ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง วัฏจักรและผลกระทบทางชีววิทยาระดับโมเลกุลของขยะไมโครพลาสติกจากแหล่งชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ชูตา บุญภักดี
เจ้าของผลงานร่วม สุปราณี แก้วภิรมย์ , ถนอมศักดิ์ บุญภักดี
คำสำคัญ ตัวชี้วัดทางชีวภาพ;การเคลื่อนย้าย;ไมโครพลาสติก;ชลบุรี;หอยนางรม
หน่วยงาน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การตรวจสอบการปนเปื้อนและการเคลื่อนย้าย (ฟลักซ์) ของไมโครพลาสติกบริเวณชายฝั่งที่ได้รับน้ำทิ้งจากชุมชน จังหวัดชลบุรี พบปริมาณฟลักซ์ของไมโครพลาสติกรวมทุกขนาด (1-5000 ไมโครเมตร) มากที่สุดที่คลองบางโปรง ในน้ำทิ้งชุมชน และดินตะกอนพบไมโครพลาสติกรูปร่างแบบแผ่นและเส้นใยมากที่สุดตามลำดับ พบการสะสมของไมโครพลาสติกทุกขนาดในระบบทางเดินอาหารมากกว่าในเนื้อเยื่ออื่นของหอยสองฝาเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนใหญ่มีรูปร่างแบบแผ่นและเส้นใย ทั้งนี้ชนิดของไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุด ได้แก่ พอลิเอทิลีน, พอลิพรอพิลีน และพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต จากการทดลองยังชี้ให้เห็นว่าหอยนางรมเป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง