- ชาญชัย ศุภอรรถกร
- 393 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2560 |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อวิรุทธ์ ศิริโสภณา |
เจ้าของผลงานร่วม | ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร |
คำสำคัญ | สตรีในละคร;ตัวละครและลักษณะนิสัย;ละครโทรทัศน์ไทย |
หน่วยงาน | คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์ตัวบท ผ่านละครโทรทัศน์ ได้แก่ น้ำเซาะทราย เพลิงพระนาง เพลิงบุญ มายา และเมียหลวง และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน พบว่า ตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ทั้ง 5 เรื่อง ปรากฏคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ ในระดับการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างสูง ซึ่งสอดรับกับบริบทของสังคม เช่น ลักษณะทางกายภาพ การศึกษา อาชีพ พื้นที่ เป็นต้น แต่คุณลักษณะทางจิตวิทยา มีระดับการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ภูมิหลัง ความต้องการ ความขัดแย้ง เป้าหมาย และการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้โครงเรื่องหลักไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดชุดความคิดเกี่ยวกับเรื่องผู้หญิงในลักษณะการตกเป็นรองผู้ชายเช่นเดิมในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุดมคติหญิงไทย, บทบาทและหน้าที่, ค่านิยมด้านคู่ครอง ซึ่งมีเพียงบางประเด็นของชุดความคิดที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวละครหญิงในละครเวอร์ชันหลัง เช่น การศึกษา อาชีพ พื้นที่ เป็นต้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/59880/1/5984679228.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2560 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.