ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสร้างอัตลักษณ์สำหรับชุมชนทางวัฒนธรรม
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ชุติมา รุ่งโรจน์พานิชกุล
เจ้าของผลงานร่วม ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์
คำสำคัญ ประสาทสัมผัสทั้ง 5;การสร้างอัตลักษณ์;ชุมชนทางวัฒนธรรม
หน่วยงาน คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย ความผูกพันต่อสถานที่ คือความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างคนและสถานที่ เป็นการรับรู้ผ่านขั้นพื้นฐานด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส โดยที่การรับรู้เหล่านี้เป็นการสะสม ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ไปจนถึงประเพณีวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมา ซึ่งทำให้เกิดบุคลิกเฉพาะตัวของพื้นที่นั้นๆได้ การที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกต่อพื้นที่นั้นออกมาได้ ก็จะสามารถเห็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสถานที่นั้นได้เช่นกัน เครื่องมือที่สามารถสื่อสารความรู้สึกเหล่านั้นได้ จึงต้องเป็นเครื่องมือที่สามารถถ่ายทอดระบบความคิดออกมาได้ ซึ่งภาษากราฟิกเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถถ่ายทอดสิ่งนั้นได้จากนามธรรมเป็นรูปธรรมในรูปแบบที่เรียบง่ายผ่านขอบเขตตัวแปรหลักทั้ง 8 ตัวแปรได้แก่ ระนาบของพื้นที่ 1 และ 2 มิติ size, value, texture, color, orientation and shape โดยที่ขอบเขตเหล่านี้ทำให้เกิด Content และ Form ที่ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพได้ตามเป้าหมาย จึงทำให้ในปัจจุบันนักออกแบบหันมาสนใจแนวคิดการใช้ประสามสัมผัสทั้ง 5 ของคน มาต่อยอดสู่งานสร้างสรรค์ต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60050
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสร้างอัตลักษณ์สำหรับชุมชนทางวัฒนธรรม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง