ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์และความเป็นเมืองในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา: พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ตวงพร ปิตินานนท์ |
เจ้าของผลงานร่วม | ดนัย ทายตะคุ |
คำสำคัญ | ภูมิทัศน์;ความเป็นเมือง;ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา |
หน่วยงาน | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์และความเป็นเมืองในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงและลมมรสุม ระหว่างสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบัน การศึกษาแบ่งเป็น 1) ระดับเมือง บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ระดับพื้นที่เฉพาะ บริเวณรังสิต บางลำพู และคลองอ้อมนนท์ การเปรียบเทียบแผนที่สมัยรัชกาลที่ 5 และปัจจุบัน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาภูมิทัศน์เชิงประวัติศาสตร์จากพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงสู่การตั้งถิ่นฐานของสังคมลุ่มแม่น้ำ สังคมชาวสวน และพัฒนาสู่ชุมชนเมือง การสำรวจภาคสนาม การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้วยการแยกชั้นข้อมูลองค์ประกอบทางภูมิทัศน์ที่สำคัญ พบว่า การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงรัชกาลที่ 5 อยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดทางภูมิทัศน์ ด้วยการออกแบบลักษณะบ้านเรือนแบบยกเสาสูงและการจัดการพื้นที่เกษตรที่สอดคล้องกับพลวัตทางธรรมชาติ เช่น ทุ่งนา ขนัดสวน และเครือข่ายคลอง ต่อมา การพัฒนาเมืองสมัยใหม่มีทิศทางการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การขยายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรมในเขตชานเมืองด้วยการถมที่ทับทุ่งและทางน้ำเพื่อปลูกสิ่งก่อสร้างทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสัณฐานของภูมิทัศน์ที่ส่งผลต่อระดับชั้นความสูงและความพรุนของเมือง ซึ่งลดทอนความสามารถของภูมิทัศน์เดิม ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านนิเวศเมือง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60168 |
สาขาการวิจัย |
|
การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์และความเป็นเมืองในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา: พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.