- เอกรินทร์ พึ่งประชา
- 641 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การสร้างซอสามสายของครูศักดิ์ชัย กาย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อนันท์สิทธิ์ การหนองใหญ่ |
เจ้าของผลงานร่วม | บุษกร บิณฑสันต์ |
คำสำคัญ | ซอสามสาย;ครูศักดิ์ชัย กาย |
หน่วยงาน | คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | ปัญหาของซอสามสาย คือ เสียงของซอสามสายมักจะถูกกลืนในขณะที่บรรเลงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ครูศักดิ์ชัย กาย จึงได้ริเริ่มที่จะพัฒนาและยกระดับคุณภาพเสียงของซอสามสายให้ดังกังวาน และมีความไพเราะยิ่งขึ้นโดยได้ร่วมมือกับช่างซอระดับแนวหน้าของประเทศไทย พบว่า ครูศักดิ์ชัย กาย ได้ทำการอนุรักษ์และปรับปรุงทั้งรายละเอียดต่าง ๆ จากกระสวน ซอสามสายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต จนทำให้เกิดคุณภาพเสียงและรูปทรงในแบบฉบับของตนได้สำเร็จ ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอสามสายของครูศักดิ์ชัย กาย คือ การสร้างกะโหลกซอสามสายที่ไร้แกนยึดทวนมีผลทำให้เกิดคุณภาพเสียงที่ดังกังวาน, การกำหนดรูปแบบขอบขนงซอสามสายให้มีลักษณะโค้งเว้ารับกับการขึงหน้าซอทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของหนังหน้าซอมากขึ้น, พื้นผิวภายในกะโหลกซอที่เรียบมีผลทำให้การกำธรภายในมากขึ้นกว่าซอสามสายสมัยก่อน, การลงรักปิดทองภายในกะโหลกซอมีผลทำให้พื้นผิวภายในมีมวลหนาแน่นส่งผลทำให้มีการกำธรเสียงที่ดีขึ้น, การคัดเลือกหนังสำหรับขึงหน้าซอที่ใสและมีความบางประมาณ 0.15 มิลลิเมตร มีผลทำให้การสั่นสะเทือนของเสียงมีการสั่นสะเทือนเร็วขึ้น และรูปแบบการขึ้นหน้าซอที่ไม่หุ้มหลังกะโหลกซอมีผลทำให้กะโหลกซอสั่นสะเทือนได้เต็มที่ จึงช่วยทำให้เสียงซอมีความดังและกังวานมากขึ้นกว่าซอสามสายแบบเดิม |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60276 |
สาขาการวิจัย |
|
การสร้างซอสามสายของครูศักดิ์ชัย กาย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.