ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ชีววิทยาบางประการ และชนิดอาหารในการอนุบาลกุ้งพยาบาลลายทาง Lysmata vittata (Stimpson, 1860) เบื้องต้น
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ชนะ เทศคง
เจ้าของผลงานร่วม ธนกฤต คุ้มเศรณี , ฑิฆัมพร นามกร
คำสำคัญ กุ้งพยาบาลลายทาง;การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ;การอนุบาลสัตว์น้ำ;ชีววิทยา;สัตว์ทะเลสวยงาม
หน่วยงาน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษาชีววิทยาบางประการของกุ้งพยาบาลลายทาง พบว่า กุ้งใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการพัฒนารังไข่จนถึงไข่มาเกาะติดที่ขาว่ายน้ำ 10.28 ± 0.78 วัน, ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการฟัก ออกจากไข่ 8.40 ± 1.07 วัน, ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยใน การที่กุ้งปล่อยไข่รอบใหม่ มาที่ขาว่ายน้ำ 1.42 ± 0.54 วัน, และใช้ระยะเวลาในการพัฒนาการตั้งแต่ระยะ zoea1 จนถึงระยะลงเกาะใช้เวลา 28-45 วัน การอนุบาลลูกกุ้งพยาบาลลายทางเบื้องต้น พบว่า การใช้สาหร่ายคีโตเซอรอส อนุบาล ในระยะ zoea1 และใช้สาหร่ายคีโตเซอรอส ร่วมกับ โรติเฟอร์ ในการอนุบาลลลูกกุ้งระยะ zoea2 ถึงระยะ zoea3 เป็นวิธีการที่ดีที่สุด คือ มีอัตราการ รอดตาย 90±2.00 % สูงกว่าการอนุบาลในวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) ส่วนการอนุบาลในลำดับต่อมา คือ ในระยะ zoea3 จนถึงระยะลงเกาะนั้น พบว่าการใช้อาร์ทีเมียเพียงอย่างเดียว และการใช้โรติเฟอร์และอาร์ทีเมียแรกฟัก ให้ผลที่ใกล้เคียงกัน คือ 36±6.0 %, 34±6.0 % ตามลำดับ แต่มีความแตกต่างจากการใช้โรติเฟอร์เพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05)
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=24_Fis16.pdf&id=3995&keeptrack=19
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง