- มาริสา อัตถาพงศ์
- 534 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความทนทานต่ออุณหภูมิสูงของไหมอีรี่ต่าง ecorace |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | เดือนเพ็ญ วงค์สอน |
เจ้าของผลงานร่วม | ศิวิลัย สิริมังครารัตน์ , วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ , สุเมธ มาสขาว |
คำสำคัญ | อุณหภูมิสูง;ทนทาน;ecorace;ไหมอีรี่;ความชื้น |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การคัดเลือกไหมอีรี่ที่สามารถทนทานต่ออุณหภูมิสูง โดยใช้ไหมอีรี่ จำนวน 5 ecorace ได้แก่ SaKKU1, SaKKU2, SaKKU3, SaKKU4 และ SaKKU5 ด้วยการนำมาทดสอบที่อุณหภูมิ 2 ระดับคือ 36 และ 40 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 50±5% นาน 6 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับอุณหภูมิห้อง (25±2 องศาเซลเซียส) ความชื้นสัมพัทธ์ 80±5% นั้น พบว่า ที่อุณหภูมิสูงสุด ไหมอีรี่ ecorace SaKKU1 มีอัตราการอยู่รอดสูงกว่า ecorace อื่น ๆ ทั้งการ อยู่รอดในระยะหนอน (วัย 1-5) และระยะหนอน-ตัวเต็มวัย ส่วนผลผลิตเฉลี่ยด้านน้ำหนักรังสด น้ำหนักดักแด้ น้ำหนักเปลือกรัง เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง น้ำหนักเปลือกรังรวม จำนวนไข่/แม่ และจำนวนไข่ทั้งหมด ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียสนั้น ยังคงพบว่า ecorace SaKKU1 ให้ผลผลิตดังกล่าวสูงที่สุด ซึ่งแตกต่างกับ ecorace อื่น และเมื่อนำไหมอีรี่ ecorace SaKKU1 มาทดสอบที่ 40 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 2 ระดับคือ 50±5 และ 80±5% พบว่า ผลผลิตเฉลี่ยของน้ำหนัก รังสด น้ำหนักรังสด/หนอน 10,000 ตัว และจำนวนไข่/แม่ ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 50±5% มีค่าที่ไม่แตกต่างกันกับกรรมวิธีควบคุม (25 องศาเซลเซีย ความชื้นสัมพัทธ์ 80±5%) โดยมีค่าเท่ากับ 3.0569 กรัม, 30.57 กิโลกรัม และ 393.07 ฟอง ความสามารถในการทนทานอุณหภูมิสูงและผลผลิตที่สูงกว่า ecorace อื่น ๆ ย่อมแสดงให้เห็นว่าไหมอีรี่ ecorace SaKKU1 นี้มีศักยภาพและมีความเหมาะสมสำหรับนำไปเพาะเลี้ยงในเบื้องต้นในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงได้ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=82PO-ENTO-068.pdf&id=915&keeptrack=8 |
สาขาการวิจัย |
|
ความทนทานต่ออุณหภูมิสูงของไหมอีรี่ต่าง ecorace is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.