ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไหมกลุ่มราชธานีเจริญศรีโสธร ด้วยเทคนิคการฟอก ย้อม พิมพ์ ทอ ตกแต่งสำเร็จ และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผศ.ดร.รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์
คำสำคัญ การจัดการความรู้;ราชธานีเจริญศรีโสธร;การฟอกย้อม;การทอผ้า;เส้นด้ายไหม
หน่วยงาน คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 399 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของประเทศไทย มีมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ซึ่ง สันนิษฐานได้ว่าเริ่มต้นโดยคนไทยที่อพยพลงมาจากประเทศจีน โดยในสมัยนั้นการเลี้ยงไหมไม่ทำกันเป็นล่ำเป็นสัน โดยเลี้ยงไหมไว้เพื่อทอเป็นเครื่องนุ่งห่มใช้เองเท่านั้น มาถึงในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมกันทั่วไป โดยเฉพาะภาคอีสานมีการเลี้ยงไหมมากที่สุด แต่เส้นไหมที่ทำได้นั้นมีคุณภาพไม่ดี เป็นเส้นหยาบที่ไม่สม่ำเสมอ จะนำไปใช้ทอเป็นผ้าอย่างดีไม่ได้ ต้องมีการสั่งซื้อไหมดิบและผ้าไหมชนิดต่างๆ จากต่างประเทศเข้ามาใช้เป็นจำนวนมาก รัชกาลที่ 5 จึงทรงมีพระราชดำริจะบำรุงอุดหนุนการทำไหม เพื่อให้เพียงพอแก่การอุปโภคภายในประเทศไม่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2443 กระทรวงเกษตราธิการ จึงได้ให้ คณะผู้เชี่ยวชาญหม่อนไหมชาวญี่ปุ่น ทำการทดลองปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการสาวไหม เพื่อหาความรู้สำหรับการจะปรับปรุงการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในประเทศไทย โดยสร้างเป็นสถานีทดลองปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ที่ตำบลทุ่งศาลาแดง กรุงเทพฯ จำนวน 2 สถานีใหญ่ และ 8 สถานีย่อย นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้หญิง เพื่อให้ไปเป็นครูทางด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยเนื้อหาการฝึกอบรมจะเกี่ยวข้องกับ การปลูก และดูแลต้นหม่อน การปรับปรุงและดูแลหนอนไหม การปรับปรุงการสาวไหม การใช้เครื่องจักรสาวไหม การใช้เครื่องจักรทอผ้าไหม [1] การฝึกอบรมนี้ใช้เวลา 3 ปี และมีการสอบประมวลความรู้ ซึ่งมีผู้สอบผ่านและสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ ประมาณ 600 กว่าคน ซึ่งเป็นผู้หญิงทั้งหมด [1] ในปี พ.ศ. 2447 ได้มีการก่อตั้งสาขากองช่างไหมขึ้นที่มณฑลนครราชสีมา เรียกว่า กองช่างไหม จังหวัดนครราชสีมา และเกิดโรงเรียนช่างไหมขึ้นที่ตำบลทุ่งศาลาแดง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสั่งสอนกุลบุตร กุลธิดา ให้รู้จักวิธีการทำไหม ต่อมาแพร่ขยายไปอุบลราชธานี ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ชัยภูมิ และศรีสะเกษ โดยใช้นักเรียนที่เป็นผู้หญิงที่จบหลักสูตรนี้จำนวน 600 กว่าคน ทำหน้าที่เป็นครูเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ส่งผลให้ประชาชนในภูมิภาคนี้ได้มีอาชีพที่เกี่ยวกับการเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมจนมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไหมกลุ่มราชธานีเจริญศรีโสธร ด้วยเทคนิคการฟอก ย้อม พิมพ์ ทอ ตกแต่งสำเร็จ และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง