ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ป่าชายเลนและการใช้ประโยชน์: กรณีศึกษาคุณภาพกุ้งรมควันด้วยควันจากไม้ป่าชายเลน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ประถม รัสมี |
เจ้าของผลงานร่วม | ดวงรัตน์ ปัทมเรขา , สุภาพร อภิรัตนานุสรณ์ , จิตเกษม หลําสะอาด |
คำสำคัญ | ป่าชายเลน;กุ้งรมควัน;ไม้โกงกางใบเล็ก;ถั่วขาว;ตะบูนขาว;สารประกอบฟีนอลิก |
หน่วยงาน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาบริบทป่าชายเลนและข้อมูลพื้นฐานการทํากุ้งรมควันในพื้นที่อําเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา วิเคราะห์คุณภาพกุ้งรมควันที่รมควันจากไม้ป่าชายเลน คือ ไม้โกงกางใบเล็ก ไม้ถั่วขาว และไม้ตะบูนขาว พบว่าพื้นที่อําเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มีพื้นที่ป่าชายเลนจํานวนมาก ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 อยู่ในสภาพสมบูรณ์มีพันธุ์ไม้ที่มีค่าหลายชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Rhizophoraceae, Sonneratiaceae และ Vervenaceae ชาวบ้านได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนโดยนําไม้มารมควันกุ้ง พบว่า มีผู้ประกอบการทํากุ้งรมควันจํานวน 18 ราย กุ้งที่ผ่านการรมควันโดยใช้ควันไม้ทั้ง 3 ชนิด ประกอบด้วยความชื้นร้อยละ 21.66-27.05, โปรตีนร้อยละ 63.30-67.02, คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 1.37-1.47 และไขมันร้อยละ 1.50-1.86 กุ้งที่รมควันโดยใช้ควันไม้จากถั่วขาวมีสารประกอบฟีนอลิกสูงสุด รองลงมาคือ ไม้จากตะบูนขาว และไม้โกงกางใบเล็ก มีค่า 3.01 และ 3.37 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลําดับ กุ้งที่รมควันโดยใช้ควันไม้จากไม้ถั่วขาวและไม้ตะบูนขาวมีค่าคะแนนเฉลี่ยความชอบด้านสี มีค่าสูงกว่ากุ้งที่รมควันโดยใช้ไม้โกงกางใบเล็ก กุ้งที่รมควันโดยใช้ควันไม้จากไม้ตะบูนขาวมีค่าคะแนนเฉลี่ยความชอบ ด้านกลิ่นควัน เนื้อสัมผัส ความกรอบ และความมันวาวสูงสุด แสดงให้เห็นว่ากุ้งรมควันโดยใช้ไม้ตะบูนขาวได้รับการยอมรับมากที่สุด |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://scijournal.kku.ac.th/files/Vol_45_No_2_P_314-327.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
ป่าชายเลนและการใช้ประโยชน์: กรณีศึกษาคุณภาพกุ้งรมควันด้วยควันจากไม้ป่าชายเลน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.