- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิติวัฒน์ วัฒนชัย
- 459 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการความรู้และขยายผลเทคโนโลยีการผลิตข้าวกล้องงอกด้วย เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุพรรณ ยั่งยืน |
เจ้าของผลงานร่วม | จักรมาส เลาหวณิช , เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา |
คำสำคัญ | การจัดการความรู้;ขยายผลเทคโนโลยี;การผลิต;ข้าวกล้องงอก;เครื่องเร่งกระบวนการ;การแช่;การเพาะงอกข้าวเปลือก |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ปีที่เผยแพร่ | 2564 |
คำอธิบาย | โครงการนี้เป็นการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม เรื่อง “การจัดการความรู้และขยายผลเทคโนโลยีการผลิตข้าวกล้องงอกด้วยเครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือก” มีวิสาหกิจชุมชนข้าวกล้องอินทรีย์ บ้านนาไผ่ อ.ลอง จ.แพร่ เป็นพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีงบประมาณ 2563 โดยเทคโนโลยีที่ได้รับนี้จะส่งเสริม/ยกระดับการแปรรูปข้าวกล้องงอกของกลุ่มเกษตร ซึ่งใช้เร่งการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือกให้เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่ทำการเติมสารเร่ง ปรับสภาพน้ำ ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำ ลดแรงงาน โดยเครื่องประกอบด้วยสามส่วนหลัก ได้แก่ 1) ชุดถังบรรจุข้าวเปลือกและสร้างอัตราการไหล 2) ชุดควบคุมการทำงาน 3) โครงสร้าง มีลักษณะการทำงานแบบเป็นงวด โดยการนำข้าวเปลือกบรรจุในถังแช่และเพาะงอก การทำงานให้ทำการตั้งค่าเวลาเพื่อกำหนดช่วงการสเปรย์น้ำและหยุดสเปรย์น้ำได้ตามต้องการได้ที่กล่องควบคุมอัตโนมัติ ปั๊มน้ำทำงานแบ่งเป็นสองช่วง โดยช่วงแรกมีระยะเวลา 4 ชั่วโมงสำหรับการแช่ และ 20 ชั่วโมงถัดมาสำหรับการสเปรย์เพาะงอกข้าวเปลือก ผลการทดสอบการทำงานด้วยการตั้งค่าวัฏจักรการสเปรย์น้ำผ่านข้าวเปลือกเป็นคาบเวลาเมื่อสเปรย์น้ำและหยุดสเปรย์น้ำ 20 และ 90 นาที ทำให้ข้าวเปลือกมีอัตราการงอกเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ โดยพบว่าข้าวเปลือกจะเริ่มงอกเมื่อเวลาผ่านไปที่ชั่วโมง 15-18 เป็นต้นไป จนกระทั่งครบ 24 ชั่วโมง จะทำให้รากงอกยาวประมาณ 0.5-1.0 มม. แล้วนำข้าวเปลือกงอกไปนึ่งและลดความชื้นด้วยเครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยรังสีอินฟราเรดแล้วตรวจปริมาณกาบาพบค่าสูงถึง 29.77 มิลลิกรัมต่อกรัม ซึ่งมีค่าสูงมากเมื่อเทียบกับวิธีการดั้งเดิมก่อนหน้า ทั้งนี้ในกรณีต้องการให้ข้าวเปลือกมีรากงอกที่ยาวขึ้นให้บ่มงอกข้าวเปลือกในถังต่อโดยไม่สเปรย์น้ำอีกพบว่ารากจะยาวได้อย่างรวดเร็ว |
สาขาการวิจัย |
|