ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการองค์ความรู้ชุดทดสอบฟอสเฟต ไนเตรท ไนไตรท์ในน้ำสำหรับเฝ้าระวังปริมาณธาตุอาหารฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในน้ำผิวดินและน้ำทะเลในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อารีย์ ชูดำ |
เจ้าของผลงานร่วม | วรวิทย์ วงศ์นิรามัยกุล , วัชรวดี ลิ่มสกุล , วิลาสินี ศรีพรหม , ดนัย ทิพย์มณี |
คำสำคัญ | ธาตุอาหารในน้ำ;ชุดทดสอบเบื้องต้น;ภูเก็ต;คลองปากบาง;คลองบางใหญ่ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์/ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 80 หมู่ 1 ถนนวิชิตสงคราม ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต 83120 |
ปีที่เผยแพร่ | 2564 |
คำอธิบาย | โครงการการจัดการองค์ความรู้ชุดทดสอบฟอสเฟต ไนเตรท และไนไตรท์ในน้ำสำหรับเฝ้าระวังปริมาณธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในน้ำผิวดินและน้ำทะเลในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ได้รับทุนสนับสนุนเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ “ชุดทดสอบฟอสเฟต ไนเตรท และไนไตรท์ในน้ำ” ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่สามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ดังกล่าวได้ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา คณะครูในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การถ่ายทอดองค์ความรู้ชุดทดสอบฟอสเฟต ไนเตรท และไนไตรท์ในน้ำสำหรับเฝ้าระวังปริมาณธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในน้ำผิวดินและน้ำทะเลในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต” เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงหลักการและวิธีการใช้งานชุดทดสอบฯ อย่างถูกต้อง และเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้องค์ความรู้ได้เสนอข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงชุดทดสอบฯ ให้เหมาะกับการใช้งานจริงมากยิ่งขึ้น และได้จัดการองค์ความรู้เพื่อจัดทำคู่มือวิธีการใช้และการเก็บรักษาชุดทดสอบฯเพื่อใช้ประกอบการจัดอบรมดังกล่าว โดยได้จัดกิจกรรมดังกล่าวระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 จำนวน 9 ครั้ง และมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 363 คน ประกอบด้วยนักศึกษา จำนวน 66 คน นักเรียน จำนวน 264 คน ครู จำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 28 คน ภายหลังการจัดอบรมได้จัดกิจกรรม “การประยุกต์ใช้ชุดทดสอบฟอสเฟต ไนเตรท และไนไตรท์ในน้ำสำหรับเฝ้าระวังปริมาณธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในน้ำผิวดินและน้ำทะเลในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต” เพื่อนำชุดทดสอบฯ ไปทดสอบหาฟอสเฟต ไนเตรท และไนไตรท์ในตัวอย่างน้ำในพื้นที่จริงร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อให้ทุกภาคส่วนทราบผลการทดสอบ ณ เวลาจริง โดยได้จัดกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 3 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 182 คน ประกอบด้วยนักศึกษา 47 คน นักเรียน 88 คน ครู 5 คน เจ้าหน้าที่/ผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ/เทศบาล/องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง 26 คน ผู้ประกอบการ 3 คน ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 8 คน และสื่อมวลชน 7 คน ผลการจัดกิจกรรม พบว่า ตัวอย่างน้ำในคลองปากบางและคลองบางใหญ่ให้ผลบวกกับชุดทดสอบ ชี้ให้เห็นว่า มีการปนเปื้อนธาตุอาหารเหล่านี้ในแหล่งน้ำ นอกจากนี้แล้วคณะผู้ดำเนินงานได้ดำเนินการประยุกต์ใช้ต้นแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อทดสอบหาสารฟอสเฟต ไนเตรท และไนไตรท์ในน้ำผิวดินและน้ำทะเลในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 32 จุด จำนวน 1 ครั้ง/เดือน/จุด ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 และเทียบกับวิธีมาตรฐาน พบว่า จุดเก็บตัวอย่าง P7 ถึง P15 บริเวณคลองปากบางและจุดเก็บตัวอย่าง B3 ถึง B11 บริเวณคลองบางใหญ่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูงกว่าจุดอื่น ชี้ให้เห็นว่า จุดเก็บตัวอย่างดังกล่าวมีการปนเปื้อนของธาตุอาหารสูง ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวังปัญหานี้อย่างใกล้ชิด ผลการดำเนินโครงการ ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาการปนเปื้อนธาตุอาหารในน้ำผิวดินในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ไม่ได้มีสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว แต่กิจกรรมของประชาชนในพื้นที่มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน |
สาขาการวิจัย |
|
การจัดการองค์ความรู้ชุดทดสอบฟอสเฟต ไนเตรท ไนไตรท์ในน้ำสำหรับเฝ้าระวังปริมาณธาตุอาหารฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในน้ำผิวดินและน้ำทะเลในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.