ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การใช้ประโยชน์ปุ๋ยหมักยาสูบเป็นธาตุอาหารหลักและสารชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืชสำหรับกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนออนใต้ จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รศ.ดร.บัญจรัตน์ โจลานันท์
เจ้าของผลงานร่วม ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา , นางสาวมนฤดี ม่วงรุ่ง
คำสำคัญ ปุ๋ยหมัก;เกษตรปลอดสารพิษ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ปีที่เผยแพร่ 2564
คำอธิบาย โครงการเรื่อง การใช้ประโยชน์ปุ๋ยหมักยาสูบเป็นธาตุอาหารหลักและสารชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืช สาหรับกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนออนใต้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อขยายผลการใช้ ประโยชน์ปุ๋ยหมักยาสูบเป็นธาตุอาหารหลักและสารชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืชให้แก่กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ ชุมชนออนใต้ จังหวัดเชียงใหม่ อย่างเป็นรูปธรรม 2) เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการปัจจัยด้านการผลิตให้แก่ กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษด้วยกระบวนการจัดการความรู้เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อส่งเสริม การเกษตรปลอดสารพิษรวมทั้งอนุรักษ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมของชุมชนท้องถิ่น โดยอาศัย กระบวนการจัดการความรู้เชิงปฏิบัติการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของ กรรมวิธีการให้ปุ๋ยที่แตกต่างกัน จานวน 3 กรรมวิธี (การไม่ใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยหมักทั่วไป และการใส่ปุ๋ยหมัก ยาสูบที่ชุมชนผลิตขึ้น) ในการทดลองปลูกผักกาดกวางตุ้งระดับแปลงทดลองของเกษตรกรกลุ่มผักปลอด สารพิษ บ้านแม่ผาแหน เทศบาลตาบลออนใต้ ผลการดาเนินกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้และการผลิตปุ๋ยหมักยาสูบโดยระบบกองสถิตดูดอากาศ ร่วมกับกลุ่มเกษตรกร พบว่าคุณภาพของปุ๋ยหมักยาสูบที่ผลิตมีความปลอดภัยผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ย อินทรีย์ที่กาหนดโดยกรมวิชาการเกษตร (พ.ศ. 2548/2551) ไม่พบการปนเปื้อนของสารกลุ่มโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว โครเมียม สารแคดเมียม และปรอท ในปริมาณที่จะส่งผลเป็นพิษต่อกิจกรรมการย่อยสลายของ จุลินทรีย์ในกระบวนการหมัก ขณะเดียวกันยังให้ค่าอินทรียวัตถุ (47%) และ ธาตุอาหาร N (4.1%), P (0.8%), K (4.7%) ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ระบบการหมักแบบกองสถิตดูดอากาศสามารถผลิต ปุ๋ยหมักที่อัตราเฉลี่ย 12 ตันต่อปี โดยระบบการหมักมีระยะเวลาคืนทุน 1.38 ปี (16.57 เดือน) และต้นทุน การผลิตเฉลี่ย 0.59 บาทต่อกิโลกรัมปุ๋ยหมัก ด้านประสิทธิผลการใช้ประโยชน์ปุ๋ยหมักยาสูบเป็นธาตุอาหารหลักและสารชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืช พบว่าการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชทดสอบ (ผักกาดกวางตุ้ง) ที่ปลูกโดยกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยหมักยาสูบ แตกต่างจากกรรมวิธีอื่นอย่างมีนัยสาคัญ (P ≤ 0.05) โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้าหนักผลผลิตพบว่าการใช้ปุ๋ย หมักยาสูบให้ค่าน้าหนักผลผลิตต่อต้นสูงกว่าเงื่อนไขการใช้ปุ๋ยหมักทั่วไปและการไม่ใส่ปุ๋ย สูงถึง 2.01-3.01 เท่า ขณะเดียวกันการใช้ปุ๋ยหมักยาสูบให้ประสิทธิผลในการควบคุมการระบาดต่อหน่วยพื้นที่ของแมลง ศัตรูพืช (เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว ด้วงหมัดผัก หนอนกระทู้ผัก ตั๊กแตนหนวดสั้น เพลี้ยแป้ง และหนอนใย ผัก) ที่ศึกษามีค่าต่าสุด สาหรับการขยายผลและขับเคลื่อนการผลิตและใช้ประโชน์ปุ๋ยหมักยาสูบอย่างเป็น รูปธรรม เสนอแนะว่าควรระบุแผนงานหรือโครงการที่ชัดเจนไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาล ตาบลออนใต้ในระยะถัดไป (2564-2568) ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 (การพัฒนาตามแนวทางปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ความยั่งยืน) และยุทธศาสตร์ที่ 4 (การพัฒนาบริหารจัดการทรัพยากรธรรม ชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศอย่างยั่งยืน)
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง