ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
สุรพล ใจวงศ์ษา |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ |
Suraphon Chaiwongsar |
เจ้าของผลงานร่วม |
ปัทม์ ปราณอมรกิจ ,
กนกวรรณ เวชกามา ,
วรัญญา ธาราเวชรักษ์ ,
ญาณี คีรีต๊ะ ,
เกษชไม บุญโสม ,
คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ ,
กีรติ วุฒิจารี |
คำสำคัญ |
การยกระดับ;ผลิตภัณฑ์;หัตถกรรมชุมชน;ภาคเหนือตอนบน;นวัตกรรมสร้างสรรค์;เศรษฐกิจฐานราก |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา |
ปีที่เผยแพร่ |
2565 |
คำอธิบาย |
ที่ผ่านมานั้นกระแสการบริโภคงานหัตถกรรม (Craft) หรืองานฝีมือของคนไทยนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องซึ่งสะท้อนให้เห็นว่างานหัตถกรรมไทย (Thai Craft) ไม่ได้เชย หรือเลือนหายไปตามกระแสโลกแห่งนวัตกรรมเทคโนโลยี ในทางตรงกันข้ามงานหัตถกรรม ที่ผ่านการเล่าเรื่องในบริบทใหม่กลับเติบโตอย่างต่อเนื่องตอบรับกระแสเทรนด์โลกที่หันมาสนใจเรื่อง Sustainability หรือความยั่งยืน อย่างไรก็ตาม งานหัตถกรรมไทยนั้นยังประสบปัญหาอย่างมากมายทั้งในเรื่องของการใช้ทรัพยากร กระบวนการผลิต และการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมสู่ชุมชนต้นกำเนิดงานหัตถกรรมนั้น ๆ โดยเฉพาะปัญหาอันเนื่องมาจากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ดังนั้นโครงการนี้จึงต้องการสร้างรายได้สู่ชุมชนและท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม โดยการนำทรัพยากรหรือทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบใหม่ ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศชาติ โดยบูรณาการเผยแพร่วัฒนธรรม สร้างภาพลักษณ์และเกียรติภูมิของไทยในเวทีโลก นำทุนและทรัพยากรทางวัฒนธรรมมาเป็นเครื่องมือและต่อยอดในการสร้างรายได้เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างสมดุลและนำไปสู่ความมั่งคั่งของประเทศอย่างยั่งยืน โดยโครงการนี้จะทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และสมาคมวัฒนหัตถศิลป์ล้านนา โดยประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมที่ 1: การพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมือง ให้มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมืองที่มีความแตกต่างและโดดเด่นที่ตรงกับความต้องการของตลาดในยุควิถีชีวิตใหม่ (Koyori Project) ได้คัดเลือกกลุ่มผู้ประกอบการจำนวน 30 กลุ่ม ที่มีความสนใจในด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมือง ด้วย Koyori Project โดยการอบรมแบ่งออกเป็น 4 Phase ได้แก่ (1) การอบรมทักษะการออกแบบสร้างสรรค์ (เน้นการอบรม การศึกษาดูงาน และการลงพื้นที่) (2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการออกแบบสร้างสรรค์ (3) การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สร้างสรรค์และตรงตามความต้องการของตลาด (Midterm Exam และ Final Exam) และ (4) การจัดนิทรรศการเพื่อทดสอบศักยภาพทางการตลาด กิจกรรมที่ 2: การให้คำปรึกษาและอบรมแบบเฉพาะเจาะจงที่เหมาะสมกับกลุ่มหัตถกรรม (Tailor Made Consulting and Workshop) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานของกลุ่มและยกระดับห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมสภาพการตลาดที่แตกต่างไปจากเดิม (ตลาดวิถีชีวิตใหม่) ซึ่งได้คัดเลือกกลุ่มผู้ประกอบการจำนวน 60 กลุ่ม ที่ยังไม่ประสงค์เข้าร่วมพัฒนาในทักษะในการออกแบบสร้างสรรค์และต้องพัฒนากิจกรรมในด้านอื่น ๆ หรือไม่พร้อมในเรื่องของระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการอบรม Koyori Project แต่ต้องการพัฒนากลุ่มของตนเองในด้านใดด้านหนึ่งเพื่อมีเป้าหมายหลักในการพัฒนานั้นคือ “การเพิ่มรายได้หรือยอดขาย” เพื่อเข้าร่วมการพัฒนาแบบ Tailor Made Workshop ด้วยวิธีการของ CDIO กิจกรรมที่ 3: ศึกษาภาวการณ์ของตลาดสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองในฐานชีวิตใหม่ เพื่อพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองอย่างเหมาะสม ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ผู้ประกอบการสูญเสียรายได้ เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยว กำลังการซื้อของผู้ประกอบการลดน้อยลง งดการจัดกิจกรรมงานต่างๆ ส่งผลให้บางกลุ่ม/ร้านต้องปิดชั่วคราว หรือบางกลุ่ม ต้องลดการจ้างงานลง มีบางรายอาจต้องปิดกิจการลง เป็นต้น และแนวทางการดำเนินงานฟื้นฟูอุตสาหกรรมหัตถกรรมพื้นเมืองหลังภาวะ COVID-19 สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ (1) แนวทางในการดำเนินงานในระยะสั้น อาจทำได้โดยทำความเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการแพร่ระบาดที่อาจควบคุมได้ยาก จัดการกับความเสี่ยงในระยะเวลาอันสั้น มีการตัดสินใจอย่างรวดเร็วแต่ต้องรอบคอบ สื่อสารกับลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น และ (2) แนวทางในการดำเนินงานในระยะยาว อาจต้องเรียนรู้ปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่อาจควบคุมได้
จากการประเมินกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอบรมในโครงการ ฯ เพื่อให้เกิดทักษะในการพัฒนากลุ่มในด้านต่างพบว่าผู้ประกอบการทั้งหมดมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด และในการประเมินผลการอบรมต่าง ๆ พบว่าผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมดผ่านเกณฑ์การประเมิน (คะแนนประเมินมากกว่า 50%) ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้ประกอบการจะสามารถนำเอาทักษะที่พัฒนามานั้นไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ประกอบการได้ และจากการประเมินผลระทบของกิจกรรมในโครงการต่อสภาพเศรษฐกิจฐานราก พบว่าการอบรม Koyori Project สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการโดยรวมประมาณ 47% (3,181,616 บาท/ปี) และการอบรม CDIO สามารถรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการโดยรวมประมาณ 33 % (28,051,193 บาท/ปี) |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านสังคม/ชุมชน |
สาขาการวิจัย |
-
มนุษยศาสตร์
-
ปรัชญา จริยธรรมและศาสนา
|