ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์คุณลักษณะ การเกิด อิทธิพลของแหล่งกำเนิด และมาตรการควบคุมที่เหมาะสม เพื่อการจัดการ Secondary particulate ในฝุ่น PM 2.5 เชิงบูรณาการ
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ Integrated Management of Secondary Particulate in PM2.5: Characteristic, Formation, Source Contribution and Appropriate Mitigation Measures Analysis
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รศ.ดร.สราวุธ เทพานนท์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ Assoc. Prof. Sarawut Thepanondh
เจ้าของผลงานร่วม นาย ภีมภัทร จุกจันทร์ , นางสาว วนิชญา กุลแทน , นางสาว จุฑารัตน์ แก้วบุญชู
คำสำคัญ การก่อตัวของละอองลอยอินทรีย์ทุติยภูมิ (Secondary organic aerosol);สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compound);ศักยภาพการเกิด (Formation potential);การจำแนกแหล่งกำเนิด (Source contribution);แบบจำลองทางอากาศ PMF (PMF model)
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปีที่เผยแพร่ 2565
คำอธิบาย งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อประเมินการเกิดฝุ่นทุติยภูมิและสัดส่วนของ Primary และ Secondary particulate ในฝุ่น PM2.5 เพื่อวิเคราะห์และบ่งชี้อิทธิพลของแหล่งกำเนิดที่มีต่อระดับความเข้มข้นของ Secondary particulate และเพื่อประเมินความเหมาะสมและจัดลำดับความสำคัญของมาตรการในการควบคุมแหล่งกำเนิดของ Secondary particulate โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดโดยตรงในบริเวณพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ประเทศไทย แบ่งพื้นที่ที่ศึกษาตามการใช้ประโยชน์ของที่ดินได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่ทั่วไป พื้นที่จราจร และพื้นที่อุตสาหกรรม ซึ่งใช้ข้อมูลการตรวจวัดในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2563 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 ผลการศึกษาพบว่า แหล่งที่มาของ sulfate และ nitrate ในฝุ่น PM2.5 มาจาก stationary source (โรงงานอุตสาหกรรม) และ mobile source เป็นส่วนใหญ่ ในส่วนการหาสัดส่วน primary และ secondary particulate โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ Organic carbon (OC) และ Elemental carbon (EC) พบว่า ฝุ่น PM2.5 ของจุดเก็บตัวอย่างทั้ง 3 จุด ในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลเป็น Secondary particulate ประมาณ 76.22 – 77.65% และแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่น PM2.5 ของจุดเก็บตัวอย่างทั้ง 3 จุด ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลมาจากไอเสียที่เกิดจากการใช้น้ำมันเบนซินเชื้อเพลิง หรือการใช้ LPG ในโรงงาน สำหรับผลการวิเคราะห์และบ่งชี้อิทธิพลของแหล่งกำเนิดที่มีผลต่อระดับความเข้มข้นของ Secondary particulate พบว่าสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายที่ก่อให้เกิดละอองลอยอินทรีย์ทุติยภูมิปริมาณมากที่สุดในพื้นที่ทุกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรุงเทพและปริมณฑล คือ โทลูอีน โดยที่ค่าศักยภาพในการสร้างละอองลอยอินทรีย์ทุติยภูมิ (SOAP) ของสารโทลูอีนนี้คิดเป็น 67 - 80% ของทั้งหมด และผลการวิเคราะห์โดยโมเดล PMF ชี้ให้เห็นว่าในภาพรวมพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลมีแหล่งกำเนิดหลักจากไอเสียยานพาหนะ 61.03% หากพิจารณาแยกตามประเภทการใช้ที่ดินพบว่า การระเหยของเชื้อเพลิงเป็นแหล่งกำเนิดหลักในพื้นที่ทั่วไปคิดเป็น 28.58% ในพื้นที่จราจรมีแหล่งกำเนิดหลักมาจากไอเสียยานพาหนะ 67.70% และในพื้นที่อุตสาหกรรมมีแหล่งกำเนิดหลักมาจากการเผาไหม้ในอุตสาหกรรม 39.97% นอกจากนี้ยังพบแหล่งกำเนิดจากการเผาชีวมวลและการประกอบอาหารร่วมด้วยแต่อยู่ในปริมาณที่น้อย ผลของประเมินความเหมาะสมและจัดลำดับความสำคัญของมาตรการในการควบคุมแหล่งกำเนิดของ Secondary particulate เมื่อพิจารณามาตรการตามการวิเคราะห์ผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C ratio) พบว่ามาตรการการเปลี่ยนรถจักรยานยนต์ให้เป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 14% เป็นมาตรการที่คุ้มค่าและเหมาะสมมากที่สุด โดยมาตรการนี้จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าต้นทุนการดำเนินการถึง 3.88 เท่า
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านนโยบาย
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
  • วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Creative Commons License


การวิเคราะห์คุณลักษณะ การเกิด อิทธิพลของแหล่งกำเนิด และมาตรการควบคุมที่เหมาะสม เพื่อการจัดการ Secondary particulate ในฝุ่น PM 2.5 เชิงบูรณาการ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เอกสารเพิ่มเติม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง