ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง สมบัติทางเคมี สมบัติเชิงหน้าที่ และศักยภาพการนำไปใช้ในอาหารของเพคตินจากเปลือกกล้วยน้ำว้า [Musa (ABB group) 'Kluai Nam Wa']
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นางสาวนิจจารีย์ มณีรัตน์
เจ้าของผลงานร่วม ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ
คำสำคัญ เพคติน;การสกัด;เปลือกกล้วย;สารทดแทนไขมัน;กล้วยน้ำว้า
หน่วยงาน สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย งานวิจัยนี้ใช้เปลือกกล้วยน้ำว้าซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากการผลิตกล้วยแปรรูป เป็นวัตถุดิบในการสกัดเพคติน โดยแปรสภาวะที่ใช้ในการสกัด เพื่อเลือกสภาวะที่เหมาะสมที่ให้ผลผลิตเพคตินสูงที่สุด จากนั้นศึกษาสมบัติเชิงเคมี สมบัติเชิงหน้าที่ และการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร ของเพคติน ที่เตรียมได้จากสภาวะดังกล่าว ผลการทดลองพบว่า การสกัด NBPP โดยใช้สารละลายกรด พีเอช 1.5 เป็นเวลา 60 นาที ให้ผลผลิตสูงสุด เพคตินที่ได้เป็นเพคตินชนิดเมทอกซิลสูงที่มีความบริสุทธิ์พอประมาณ สามารถในการเพิ่มความหนืดและก่อเจลได้ และมีความสามารถในการดูดซับน้ำและน้ำมัน เมื่อทดสอบศักยภาพในการนำไปใช้เป็นสารทดแทนไขมันโดยใช้ทดแทนน้ำมันพืชบางส่วนในผลิตภัณฑ์น้ำสลัด พบว่าผลิตภัณฑ์มีคะแนนการยอมรับคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสด้านต่างๆ ไม่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิม
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง