ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
ประสิทธิภาพของเชื้อราโรคแมลง Metarhizium anisopliae ไอโซเลท PSUM04 ในการควบคุมแมลงวันผลไม้ (Diptera: Tephritidae) ในพื้นที่ที่มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ และผลกระทบต่อแตนเบียนศัตรูธรรมชาติของแมลงวันผลไม้ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ดร. นริศ ท้าวจันทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
คำสำคัญ |
Metarhizium anisopliae;แมลงวันผลไม้ |
หน่วยงาน |
ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ |
ปีที่เผยแพร่ |
2559 |
คำอธิบาย |
ผลการศึกษาการงอกของสปอร์และการเจริญของเส้นใยเชื้อราโรคแมลง M. anisopliae PSUM04 ภายใต้สภาวะที่มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 สารฆ่าแมลง 4 ชนิด กลุ่มที่ 2 สารฆ่าไร 3 ชนิด กลุ่มที่ 3 สารฆ่าเชื้อรา 4 ชนิด และกลุ่มที่ 4 สารฆ่าวัชพืช 4 ชนิด ในสภาพห้องปฏิบัติการ พบว่าเปอร์เซ็นต์การงอกของสปอร์เชื้อราที่ 24 ชั่วโมง ของสารฆ่าแมลง 2 ชนิด คือ imidacloprid และ deltamethin มีเปอร์เซ็นต์การงอก 95.60±2.30% และ 97.60±1.82% ตามลำดับ และสารฆ่าวัชพืช คือ glyphosate มีเปอร์เซ็นต์การงอก 95.80±2.28% การเจริญของเส้นใยเชื้อราวันที่ 30 พบว่าสารฆ่าแมลง คือ imidacloprid มีอัตราการเจริญของเส้นใยเชื้อราอยู่ที่ 72.10±2.30 มิลลิเมตร และสารฆ่าวัชพืช 2 ชนิด ได้แก่ paraquat dichloride และ glyphosate มีอัตราการเจริญของเส้นใยเชื้อราอยู่ที่ 72.20±8.30 และ 82.70±6.39 มิลลิเมตรตามลำดับ การศึกษาผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อการสร้างเอนไซม์ไคติเนสและโปรตีเอสของเชื้อรา M. anisopliae PSUM04 พบว่าสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มสารฆ่าเชื้อราได้แก่ copper hydroxide, mancozeb, chlorothalonil และ carbendazim มีผลยับยั้งการสร้างเอนไซม์ไคตีเนสและโปรตีเอส 100% |
สาขาการวิจัย |
|