ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การประยุกต์ใช้ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูข้าว อ้อย และผักกะหล่ำ ในภาคกลางของประเทศไทย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ผศ.ดร. โสภณ อุไรชื่น |
คำสำคัญ | ศัตรูธรรมชาติ;ศัตรูข้าว;ศัตรูอ้อย;ศัตรูผักกะหล่ำ |
หน่วยงาน | ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ |
ปีที่เผยแพร่ | 2559 |
คำอธิบาย | การดำเนินงานวิจัย การประยุกต์ใช้ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูข้าว อ้อย และผักกะหล่ำ ในภาคกลางของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมแมลงศัตรูพืชในระบบการผลิตพืชเชิงพาณิชย์ 3 ชนิด คือ ข้าว อ้อย และผักกระหล่ำ ได้ผลการวิจัยการดังนี้ ข้าว ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2557 ถึงมกราคม 2558 ไม่พบการระบาดของแมลงศัตรูข้าวที่ก่อให้เกิดความเสียหายระดับเศรษฐกิจ กระบวนการผลิตหัวเชื้อชนิดผงแห้งของเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae และเชื้อราขาว Beauveria bassiana กรรมวิธีในวัสดุดินขุยไผ่ผสมทรายมีความเหมาะสมในการนำไปใช้เพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อรา และการศึกษาประสิทธิภาพสปอร์แขวนลอยของเชื้อราเขียว M. anisopliae และเชื้อราขาว B. bassiana ต่อการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens ในสภาพห้องปฏิบัติการ โดยสปอร์แขวนลอยของเชื้อรา M. anisopliae และเชื้อรา B. bassiana ที่อายุ 1 วัน ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล N. lugens ตายเฉลี่ยสูงสุด 71.43 และ 83.33 เปอร์เซ็นต์ อ้อย พบแมลงศัตรูอ้อย คือ หนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยสีชมพู หนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยลายจุดใหญ่ หนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยสีขาว และหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นอ้อย สำหรับแมลงศัตรูธรรมชาติพบแตนเบียนหนอน Cotesia flavipes ผลการใช้ศัตรูธรรมชาติเพื่อควบคุมแมลงศัตรูอ้อย แปลงที่มีการควบคุมแมลงศัตรูอ้อยโดยชีววิธีด้วยแตนเบียนหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย C. flavipes แมลงหางหนีบ Euborellia sp. แมลงช้างปีกใส Mallada basalis และเชื้อราเขียว M. anisopliae มีรายได้สุทธิ 3,846.75 บาทต่อไร่ แปลงวิธีการที่เกษตรกรปฏิบัติมีรายได้สุทธิ 1,751.75 บาทต่อไร่ แปลงที่ใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมกำไรสุทธิมากกว่าแปลงที่มีการควบคุมด้วยวิธีการที่เกษตรกรปฏิบัติมากกว่า 2 เท่า ผักกะหล่ำ ช่วงเดือนตุลาคม 2557 ถึงเดือนมีนาคม 2558 ผักกวางตุ้งและผักคะน้า พบพบหนอนใยผัก และเพลี้ยอ่อนผัก การศึกษารูปแบบการใช้แมลงศัตรูธรรมชาติในการควบคุมแมลงศัตรูผักทั้งสองชนิด พบว่าปลดปล่อยมวนตัวห้ำหนอน Eocanthecona furcellata จำนวน 20 ตัวต่อพื้นที่ทดลองขนาด 3 ตารางเมตร และแมลงช้างปีกใส M. basalis จำนวน 10 ตัวต่อพื้นที่ทดลองขนาด 3 ตารางเมตร มีกำไรสุทธิมากกว่าแปลงที่มีการควบคุมด้วยวิธีการที่เกษตรกรปฏิบัติมากกว่า 2 เท่า ต่อพื้นที่ทดลองขนาด 3 ตารางเมตร |
สาขาการวิจัย |
|
การประยุกต์ใช้ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูข้าว อ้อย และผักกะหล่ำ ในภาคกลางของประเทศไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.