ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง 10 ปี งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น คุณค่า และความหมายต่อสังคมไทย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ดร.สมคิด แก้วทิพย์
เจ้าของผลงานร่วม บุญมี โสภังค์ , ภังค์ ประสิทธิ์ เชื้อเอี่ยม , อิ่นแก้ว เรือนปานันท์ , ดร.กาญจนา แก้วเทพ , รศ. อาวรณ์ โอภาสพัฒนากิจ , ชุติมา เหตานุรักษ์
คำสำคัญ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น;สังคมไทย;การแก้ปัญหาชุมชน
หน่วยงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจึงเกิดขึ้นโดยวางประเด็นงานวิจัยคือ ทรัพยากร การศึกษา การจัดการท้องถิ่น เด็กและเยาวชน เกษตรกรรม การท่องเที่ยว ฯลฯ เป็นต้น โดยวางเป้าหมายชัดเจนจะช่วยตอบคำถามที่ว่า ทำไมเป็นหนี้ ทำไมหลงลืมวัฒนธรรม ทำไมไม่มีความสุข ปัญหาเกิดจากอะไร จะแก้อย่างไร เริ่มต้นต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้าน โดยใช้คำว่า กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันแทนคำว่าวิจัย ต้องตั้งโจทย์ ให้ชุมชนช่วยกันคิดวางแผนก่อนลงมือทำ และมีหลักการ 3 อย่าง คือ โจทย์มาจากชุมชน ชุมชนต้องเป็นคนทำ และต้องทดลองทำจริง ทำให้งานวิจัยเกิดการนำไปใช้ต่อยอดในการกัปัญหาของสังคมได้ เช่น โครงการศึกษารูปแบบการเลี้ยงโค-กระบือบ้านดอนแรด จ.สุรินทร์ โครงการการจัดการทรัพยากรชายฝั่งบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี โครงการจัดระเบียนสังคม งดเหล้าในงานศพของชุมชนบ้านดง จ.ลำปาง ฯลฯ เป็นต้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมางานวิจัยท้องถิ่นทำให้เกิดนักวิจัยชาวบ้าน 10,000 คน โครงการวิจัย 1,400 โครงการ ในพื้นที่ 58 จังหวัด งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมีการทบทวนเชื่อมโยงบทเรียนประสบการณ์มาสังเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้ เน้นคุณค่าและพลัง ความสุข และสร้างเปลี่ยนแปลงให้แก่ท้องถิ่นให้พัฒนาไปอย่างยั่งยืนต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=yr0LvP0pXXg
สาขาการวิจัย -
Creative Commons License


10 ปี งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น คุณค่า และความหมายต่อสังคมไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.

วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง