ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง สารสี องค์ประกอบของโปรตีน ฤทธิ์ทางชีวภาพ และการประยุกต์ใช้น้ำหมึกจากหมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana) หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis) และหมึกสายขาว (Amphioctopus aegina)
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ชนัญญา พินศรี
เจ้าของผลงานร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา สและน้อย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์กังสดาลย์ บุญปราบ และ รองศาสตราจารย์จรวย สุขแสงจันทร์
คำสำคัญ น้ำหมึก, ปลาหมึก, เมลานิน, ธาตุ, วุ้น
หน่วยงาน ภาควิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย งานวิจัยนี้ได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและการประยุกต์น้ำหมึกจากหมึกหอม หมึกกระดองลายเสือ และหมึกสายขาว ซึ่งจากการศึกษา พบว่า สารสีของน้ำหมึก มีโทนสีน้ำตาลและละลายได้ดีในน้ำ แต่ไม่สามารถละลายได้ในน้ำมันถั่วเหลือง และแถบโปรตีนของหมึกกระดองลายเสือมีมากที่สุด จากการทดลองนี้พบว่าน้ำหมึกไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ส่วนการเพิ่มมูลค่าโดยเติมน้ำหมึกลงในวุ้น พบว่าปริมาณโปรตีน ไขมัน และเยื่อใยเพิ่มขึ้นหลังจากใส่น้ำหมึก อีกทั้งเป็นทางเลือกที่ดีในการใช้เป็นสีที่ได้จากธรรมชาติเนื่องจากสามารถใช้น้ำหมึกในปริมาณน้อย แต่สามารถให้คุณภาพสีที่เข้ม
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง