ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นางสาวพนมพร เส็งผล
คำสำคัญ การเห็นคุณค่าแห่งตน / เด็กหญิงบา้นราชวิถี
หน่วยงาน กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย สุนทรียศาสตร์แห่งนาฏศิลป์จะเป็นเสมือนยาที่ช่วยบำบัดรักษาหรือเยียวยา จิตใจที่ปราศจากเงื่อนไข และขอบเขตที่สามารถสร้างจิตวิญญาณที่ดีแก่มวลมนุษย์ทั้งการป้องกันปัญหา การแก้ไขปัญหา และการฟื้นฟูสภาพจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น กระบวนการพัฒนาจึงมิใช่เพื่อการบรรลุเป้าหมายเชิงปริมาณ การจัดการปัญหา หรือการแก้ไขสถานการณ์เท่านั้น หากแต่จะต้องตระหนักเป็นอย่างยิ่งในการพยายามป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ควบคู่กันไป ซึ่งการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนเป็นการบูรณาการแนวคิด และทฤษฎีทางจิตวิทยาการเห็นคุณค่าแห่งตนของ Coopersmith (1981) การปฏิบัตินาฏศิลป์ (Dancing Art) ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะพิสัย (Instructional Model Based on Simpson’s Processes for Psychomotor Skill Development) (Simpson 1972) กับการพัฒนารูปแบบของ Kruse (2008 :1) Dick and Carey (2005 : 1-8) Joyce and Weil (2009 : 9) เพื่อพัฒนาเด็กหญิงบ้านราชวิถีซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้เกิดความตระหนักรู้ศักยภาพแห่งตนและการเห็นคุณค่าแห่งตนให้สูงขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติม -
สาขาการวิจัย
  • สังคมศาสตร์
Creative Commons License


การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง