- ธีรนุช ฉายศิริโชติ
- 1183 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดกลุ่มน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นด้วยวิธีวิเคราะห์ทางเครื่องมือและประสาทสัมผัส |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นางสาวมนทกานติ์ เอี่ยมแก้ว |
เจ้าของผลงานร่วม | รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ |
คำสำคัญ | น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น;การประเมินคุณภาพด้านประสาทสัมผัส;จมูกอิเล็กทรอนิกส์;แก๊สโครมาโทกราฟี |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2560 |
คำอธิบาย | คุณภาพน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (VCO) โดยเฉพาะกลิ่นขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพและการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น จำนวน 15 ตัวอย่าง ที่มีกรรมวิธีแตกต่างกัน 4 วิธี คือ กลุ่มตัวอย่างที่ผลิตจากการหีบ จำนวน 3 ตัวอย่าง การกลั่นสุญญากาศ จำนวน 3 ตัวอย่าง การหมุนเหวี่ยง จำนวน 4 ตัวอย่าง และการหมัก จำนวน 5 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการวัดค่าคุณภาพด้านกลิ่นคือ 1)วิธีวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัสและ 2)วิธีวิเคราะห์ทางเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ (E-nose) และเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปโทรมิเตอร์ (GC-MS) เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis) ร่วมกับการจัดกลุ่ม (Cluster Analysis) พบว่า สามารถจำแนกกลุ่มตัวอย่างน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นได้เป็น 4 กลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิต และเมื่อนำตัวอย่างน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นไปทดสอบความชอบโดยการทาผิวกับผู้บริโภค จำนวน 100 คน พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบกลุ่มตัวอย่างน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่ผลิตจากการหมุนเหวี่ยง โดยมีคะแนนความชอบเฉลี่ยอยู่ในระดับชอบเล็กน้อย เนื่องจากมีกลิ่นเฉพาะของมะพร้าว กลิ่นหวาน และกลิ่นวานิลลาสังเคราะห์สูง |
สาขาการวิจัย |
|