ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเตาเผาขยะชีวมวลไร้ควันและเตาเผาถ่านมลพิษต่ำ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นางนิตยา นักระนาด มิลน์
เจ้าของผลงานร่วม นายบรรพต ศิริณัฏสมบูรณ์ , นายอานุภาพ ดาวเรือง
คำสำคัญ เตาเผาขยะชีวมวลไร้ควัน;ชุดผลิตน้ำส้มควันไม้;เตาเผาถ่านมลพิษต่ำ;ถ่านชีวมวล;น้ำส้มควันไม้;เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน่วยงาน ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย คณะผู้วิจัยได้นำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เตาเผาขยะชีวมวลไร้ควันชุดผลิตน้ำส้มควันไม้ และ เตาเผาถ่าน มลพิษต่ำ ไปขยายผลสู่ชุมชนในอำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้โครงการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเตาเผาขยะชีวมวลไร้ควัน และเตาเผาถ่านมลพิษต่ำ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ-เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ โดยมีการเตรียมการในกิจกรรมที่ 1 และ 2 คือ รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ความรู้การวิจัยตามแนวพระราชดำริด้านพลังงานในการเผาถ่านด้วย “เตาเผาขยะชีวมวลไร้ควัน” และ “เตาเผาถ่านมลพิษต่ำ” แล้วนำมาพัฒนาสื่อการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริโดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สอดแทรกในกระบวนการจัดการองค์ความรู้ และการขยายผลองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ จากนั้นจึงดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งที่ 1 ณ ศูนย์กสิกรรม ไร้สารพิษวังน้ำเขียว ในวันอังคารที่ 15 กันยายน 2558 เป็นกิจกรรที่ 3 และในกิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผลและถอดบทเรียนการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งที่ 1 นำไปปรับเนื้อหาสื่อการเรียนรู้ และจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งที่ 2 ณ โรงเรียนบ้านหลุมเงิน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2558 ต่อด้วยกิจกรรมที่ 5 ติดตามประเมินผลและถอดบทเรียนการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งที่ 2 นำไปปรับเนื้อหาสื่อการเรียนรู้ และจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งที่ 3 ณ เครือข่ายสหกรณ์การเกษตร อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2558 และกิจกรรมที่ 6 ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลและถอดบทเรียนการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้ง 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2559 โดยมีผู้ผ่านการอบรม 115 คน และจากการติดตามประเมินผล พบว่า ผู้ผ่านการอบรมเล็งเห็นประโยชน์ และพยายามริเริ่มแนวทางที่จะนำสู่การนำไปใช้จริง โดยได้ลงมือผลิตเตาเผาขยะชีวมวล(ตามแบบที่คณะผู้วิจัยได้แจกให้)สำเร็จด้วยการระดมทุนส่วนตัว 1 ชุด และอยู่ระหว่างเสนอของบประมาณในหลายหน่วยงาน จากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกสรุปได้ว่า ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอยู่ในระดับดีมากในทุก ๆ ด้าน และมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการจัดอบรมในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง จากการลงพื้นที่เพื่อติดตามประเมินผลโครงการฯ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการตอบแบบสอบ-ถามพบว่า ผู้ผ่านการฝึกอบรมยังขาดความชำนาญ ความรู้ ความเข้าใจในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ มีความยากลำบากในการอ่านแบบเตาฯ มีการจุดไฟเผาจากด้านล่างซึ่งเป็นการจุดไฟที่ผิดวิธี ไม่ค่อยเข้าใจวิธีการประกอบเตาฯ นอกจากนี้มีผู้ประสงค์จะขอเข้ารับการฝึกอบรมอีกเป็นจำนวนมากและต้องการให้ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มเติม ณ ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษ วังน้ำเขียว อย่างต่อเนื่องต่อไป ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ นี้ได้มีการจัดทำคู่มือการผลิตและการใช้งาน “เตาเผาขยะชีวมวลไร้ควัน” และ “เตาเผาถ่านมลพิษต่ำ” แจกจ่ายแก่ผู้รับการอบรมเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
สาขาการวิจัย -

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง