- ธนพัฒน์ สุระนรากุล
- 224 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | หอยแก้วน้อยชนิดใหม่ของโลก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | กิตติ ตันเมืองปัก |
เจ้าของผลงานร่วม | ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ , ศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ |
คำสำคัญ | หอยทาก;หอยแก้วน้อย |
หน่วยงาน | ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหาสารคาม, ม.ราชภัฎเลย |
ปีที่เผยแพร่ | 2560 |
คำอธิบาย | หอยทากบกชนิดใหม่ของโลก "หอยแก้วน้อย" เป็นหอยที่มีเปลือกขนาดเล็ก รูปร่างแบน แข็ง เรียบและใส ขนาดของเปลือกประมาณ 6-12 มิลลิเมตร บริเวณขอบปากด้านในมีติ่งยื่นออกมา ลักษณะคล้ายฟัน 3 ซี่ จึงเป็นที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ Sesara triodon ซึ่ง triodon หมายถึงฟัน 3 ซี่ พบที่บริเวณเขาหินปูนบริเวณภูผาล้อม จ.เลย โดยหอยทากสกุล Sesara เคยศึกษาและมีรายงานในประเทศไทยมาแล้ว 2 สปีชีส์ ได้แก่ S. parva Solem ค้นพบเมื่อปี 1966 ที่บริเวณดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ และ S.megalodon Blandford ค้นพบเมื่อปี 1902 ที่ จ.พิษณุโลก ซึ่งหอยทากทั้ง 2 สปีชีส์ นี้มีฟันบริเวณปากเปลือก 2 และ 4 ซี่ ตามลำดับ นอกจากลักษณะภายนอกที่ต่างจากหอยในสกุลเดียวกันแล้ว จากการศึกษาลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ ระบบสืบพันธุ์และรูปร่างลักษณะของแผ่นฟันก็มีความแตกต่าง โดยข้อมูลทั้ง 2 ส่วนนี้นำมาสนับสนุนข้อมูลทางสัณฐานวิทยาของเปลือก จนสามารถแยกออกเป็นหอยทากสปีชีส์ใหม่ของโลกได้ การค้นพบหอยทากบกชนิดใหม่นี้สามารถบ่งบอกลักษณะทางภูมิศาสตร์ได้ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีความหลากหลายทางชีวภาพที่ซ่อนเร้น รอการค้นพบอีกมาก ข้อมูลจากการวิจัยนี้ยังใช้เป็นตัวอย่างในการสอนวิชาสัตวภูมิศาสตร์ได้เป็นอย่างดี |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.youtube.com/watch?v=ShaGux5dOSo |
สาขาการวิจัย |
|
หอยแก้วน้อยชนิดใหม่ของโลก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.