ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การจัดการของเสียอินทรีย์ในครัวเรือนด้วยระบบหมักแบบไร้อากาศ และการประยุกต์ใช้น้ำทิ้งจากระบบผลิตก๊าชชีวภาพในการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผศ.ดร.อุษา อ้นทอง
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.วรรณชัย พรหมเกิด , ดร.นิรมล จันทรชาติ , ดร.อัจฉรัตน์ สุวรรณภัคดี
คำสำคัญ การจัดการของเสียอินทรีย์;ระบบหมักแบบไร้อากาศ;การประยุกต์ใช้น้ำทิ้ง
หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย โครงการวิจัยชิ้นนี้ มีเป้าหมายในการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับการจัดการของเสียอินทรีย์ในครัวเรือนด้วยระบบหมักแบบไร้อากาศ และการประยุกต์ใช้น้ำทิ้งจากระบบหมักในการปลูกผักไร้ดินปลอดสารพิษ ให้แก่ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง แผนการดำเนินงานของโครงการ เริ่มจากการประชุมชี้แจงถ่ายทอดองค์ความรู้ การอบรมเทคนิคการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี จากนั้นดำเนินการติดตั้งระบบหมักแก๊สชีวภาพ เพื่อให้ชุมชนได้เห็นภาพในเชิงประจักษ์ โดยได้คัดเลือกครัวเรือนนำร่อง จำนวน 18 ครัวเรือน ซึ่งมีครัวเรือนที่จัดทำระบบหมักขนาด 400 ลิตร จำนวน 8 ครัวเรือนที่จัดทำระบบหมักขนาด 500 ลิตร จำนวน 7 ครัวเรือน ครัวเรือนที่จัดทำระบบหมักขนาด 1000 ลิตร จำนวน 1 ครัวเรือน ซึ่งครัวเรือนทั้ง 17 ครัวเรือนนี้ และครัวเรือนที่จัดทำระบบหมักขนาด 10000 ลิตร จำนวน 1 ครัวเรือน และสุดท้ายขั้นตอนการติดตามผล พบว่า ครัวเรือนนำร่องทุกครัวเรือน สามารถใช้งานระบบได้จริง สามารถดูแลรักษาระบบหมักได้ด้วยตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจาการใช้งานระบบหมักแก๊สชีวภาพด้วยตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถเป็นวิทยากรชาวบ้าน ทำหน้าที่ถ่ายทอดเทคนิคและวิธีการใช้งานและดูแลระบบหมักแก๊สชีวภาพในครัวเรือนให้กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ทุกครัวเรือนมาสามารถกำจัดของเสียอินทรีย์ในครัวเรือนได้จริง สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อแก๊สหุงต้มได้จริง นอกจากนั้น มีครัวเรือนที่สนใจการประยุกต์ใช้น้ำทิ้งจากระบบหมักแก๊สชีวภาพ จำนวน 10 ครัวเรือน แบ่งเป็นครัวเรือนที่สนใจประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตร จำนวน 7 ครัวเรือน และ ครัวเรือนที่สนใจประยุกต์ในการปลูกผักไร้ดินปลอดสารพิษเพื่อบริโภคจำนวน 3 ครัวเรือน ซึ่งครัวเรือนเหล่านี้ มีความเข้าใจทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปลูกผักไร้ดินด้วยใช้น้ำทิ้งจากระบบหมักแบบไร้อากาศ อีกทั้ง จากการติดตามผล พบว่าครัวเรือนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเพื่อบริโภคในครัวเรือนอีกด้วย ซึ่งเป็นผลเชิงประจักษ์ ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับของชุมชน นำไปสู่การสร้างกระบวนการและทัศนคติที่ยั่งยืนในการสร้างต้นทุนพลังงานทดแทนและการบริโภคปลอดภัยของชุมชน สู่ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน
สาขาการวิจัย -

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง