ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ลำดับเบสที่สมบูรณ์ของจีโนมคลอโรพลาสต์ตาลโตนด (Borassus flabellifer Linn)
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง อาภากร สกุลสถาพร
เจ้าของผลงานร่วม ศุภชัย วุฒิพงศ์ชัยกิจ สมศักดิ์ อภิสิทธิวาณิช
คำสำคัญ ตาลโตนด การแก้ไขอาร์เอ็นเอ จีโนมคลอโรพลาส
หน่วยงาน ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2560
คำอธิบาย ในตาลโตนด (Borassus flabellifer) ข้อมูลทางจีโนมยังมีจำกัด ส่วนใหญ่ใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ (RAPD, AFLP, SSR, RFLP และ ISSR) ในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลและความเข้าใจของจีโนมตาลโตนด จึงได้ทำการศึกษาลำดับเบสที่สมบูรณ์ของจีโนมคลอโรพลาสต์ตาลโตนด ด้วยวิธีการ Illumina sequencing จีโนมคลอโรพลาสต์ตาลโตนดมีโครงสร้างเป็นวงกลม ความยาวทั้งสิ้น 160,021 คู่เบส ประกอบไปด้วยสองซ้ำของ inverted repeats (IRs) ขนาด 27,256 คู่เบส ทำหน้าที่แยก large single copy region (LSC) ขนาด 87,444 คู่เบสออกจาก small single copy region (SSC) 18,065 bp โดยมียีนที่ไม่ซ้ำกันจำนวน 113 ยีน และมีตำแหน่งแก้ไขอาร์เอ็นเอ (RNA editing) 46 ตำแหน่ง ใน 25 ยีนของจีโนมคลอโรพลาสต์ และ 46 ตำแหน่งใน 3 ยีน ATP synthase ของจีโนมไมโตคอนเดรีย ซึ่งเกือบทุกตำแหน่งแก้ไขอาร์เอ็นเอมีผลต่อองค์ประกอบของโครงสร้างโปรตีนระดับทุติยภูมิในบริเวณใกล้เคียงกับตำแหน่งที่มีการแก้ไขอาร์เอ็นเอ
ข้อมูลเพิ่มเติม http://tuoss.research.tu.ac.th/forth_papers
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง