คำอธิบาย |
แบบฟอร์มสรุปผลงานวิจัย/โครงการวิจัย 5 บรรทัด
1. ชื่อผลงาน/โครงการ การศึกษาพืชวงศ์บุก บอน (Araceae) ในป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์
2. ชื่อผลงาน/โครงการ Study on Araceae in Dong Phayayen - Khao Yai Forest for Conservation and Utilization
3. ชื่อ นามสกุล นักวิจัย ดวงใจ ศุขเฉลิม สาวิตรี รุจิธนพาณิช พรรณี เด่นรุ่งเรือง เฉลียว เพชรทอง สุธิดา มณีอเนกคุณ มานพ ผู้พัฒน์ ทิวธวัฒ นาพิรุณ และ ครรชิต ศรีนพวรรณ
4. ชื่อ นามสกุล นักวิจัย Duangchai Sookchaloem, Sawittree Rujitanapanich, Pannee Denrungruang, Chaleaw Petchthong, Sutida Maneeanakekul, Manop Poopath, Tiwtawat Napiroon and Kanchit Srinoppawan
5. ที่อยู่ที่ติดต่อได้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 51 ถนนงามวงศ์วาน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
เบอร์โทร 02 5790176 ต่อ 518, 089 064 4343 อีเมล์ ffordcs@ku.ac.th
6. ชื่อหน่วยงาน คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กรมป่าไม้
มหาวิทยาลัยราชภัฎ กาญจนบุรี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
7. ปี พ.ศ. ที่ดำเนินการเสร็จ 2560
8. คำค้น: การใช้ประโยชน์, ความหลากชนิด, ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่, พืชวงศ์บุก บอน, พื้นที่สำคัญ, พฤกษเคมี, ฤทธิ์ทางชีวภาพ, สารพฤกษเคมี, สถานภาพการอนุรักษ์
Keywords: Araceae, bioactivity, conservation stastus, Dong Phayayen-Khao Yai Forest, phytochemistry, secondary metabolitic compounds, species diversity, utilization
9. อ้างอิง
10. รูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว
Figure 1 ว่านขันหมาก Figure 2 บุกสีน้ำตาล
Figure 1 ว่านขันหมาก
Figure 3 เต่าเขียด
Figure 3 เต่าเขียด Figure 4 บุก สามใบ
Figure 5 การระเหยให้แห้งโดยใช้เครื่องระเหยสูญญากาศและสารสกัดหยาบ
11 คำอธิบาย 5 บรรทัด (font Tohoma ขนาด 10 แบบ Regular)
(สรุปรายละเอียดผลงานวิจัย/โครงการวิจัย มีความยาวไม่เกิน 5 บรรทัด อธิบายด้วยภาษาง่าย ๆ
เข้าใจได้ง่ายซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานทุกระดับ)
จากการศึกษาพบพรรณพืชวงศ์บุกบอน 19 ชนิด 11 สกุล ได้แก่สกุล Aglaonema, Alocasia, Amorphophallus, Arisaema, Colocasia, Lasia, Hapaline, Homalomena, Pothos, Remusatia และ Rhaphidophora พรรณพืชมีค่าความเด่น (IVI) มากที่สุด ดังนี้ ตะขาบเขียวในป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา ว่านขันหมากในป่าดิบแล้ง และบุกคางคกในป่าเบญจพรรณ พืชในป่าดิบชื้นมีค่าดัชนีความหลากชนิดและความมากมายและค่าความสม่ำเสมอในการกระจายชนิดสูงสุด พืชในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณมีความคล้ายคลึงมากที่สุด ชนิดที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการคุกคามและสูญพันธุ์ ได้แก่ บุกสีน้ำตาล และว่านขันหมาก และพื้นที่สำคัญมากที่สุดได้แก่ป่าดิบชื้น ส่วนการหาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ ในกลุ่ม phenolics พบ tannins และ flavonoids ชนิด leuco-anthocyanins และ catechins ในพืชตัวอย่างเกือบทุกชนิด ส่วนกลุ่ม anthocyaninไม่พบในพืชทุกชนิด
|