- พันตำรวจโทหญิง สิวาภรณ์ เจริญวงค์
- 430 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การฝึกการรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุ สำหรับเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นันทา ลีนะเปสนันท์ |
คำสำคัญ | การรับรู้ทางการมองเห็น;ความสามารถทางปัญญา;มิติสัมพันธ์;ความจำความหมาย;ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุ |
หน่วยงาน | โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา |
ปีที่เผยแพร่ | 2561 |
คำอธิบาย | ความสามารถทางปัญญาเป็นทักษะทางสมองที่สำคัญสำหรับนักเรียน มีความสัมพันธ์กับทักษะการเรียนรู้ สติปัญญา และกระบวนการคิดวิเคราะห์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดรูปแบบการฝึก การรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุแบบ 3 มิติ และนำรูปแบบการฝึกไปใช้สำหรับเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และความสามารถด้านความจำความหมาย ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมระยะหลังการฝึก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 60 คน ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี จัดนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละเท่า ๆ กัน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเครื่องมือใช้ในการทดลอง ได้แก่เครื่องรับโทรทัศน์แบบสามมิติ ขนาด 65 นิ้ว โปรแกรมนิวโรแทรคเกอร์ (NeuroTracker) และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปรตาม ได้แก่แบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ (Newton, 2009) และแบบทดสอบความสามารถด้านความจำความหมาย (Test Of Semantic Skills–Intermediate: TOSS-I) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน และ MANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า รูปแบบการฝึกการรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุผ่านหน้าจอทีวีแบบสามมิติ ประกอบด้วย การจำแนกสิ่งเร้า การบ่งชี้เป้าหมาย การเปลี่ยนตำแหน่ง การระบุเป้าหมาย และการตอบรับสิ่งเร้าที่เป็นเป้าหมาย นอกจากนี้ผลของการนำรูปแบบการฝึกรับรู้ทางการมองเห็นด้วยโปรแกรมนิวโรแทรคเกอร์ไปใช้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถทางปัญญาของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมระยะหลังการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) ในทางเดียวกัน คะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมระยะหลังการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) และคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านความจำความหมายของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมระยะหลังการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) สรุปได้ว่า การฝึกการรับรู้ทาง การมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุ สามารถเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้ |
สาขาการวิจัย |
|
การฝึกการรับรู้ทางการมองเห็นโดยประยุกต์ทฤษฎีเส้นทางการเคลื่อนที่ของหลายวัตถุ สำหรับเพิ่มความสามารถทางปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Thailand License.