ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง เลี้ยงหมูอย่างไร ไม่ให้มีกลิ่นเหม็น
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง อนุวัฒน์ ศรีสุข
คำสำคัญ กลิ่นเหม็น;การเลี้ยงสุกร
หน่วยงาน เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร หมู่ที่ 7 ต.ธงไชย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย วัสดุที่ใช้ในการทำบ่อบำบัดของเสีย คือ ท่อพีวีซีขนาด 4-5 นิ้ว เพื่อจะทำให้ของเสียในคอกหมูไหลได้ดี จำนวนแล้วแต่พื้นที่ในที่ทำการเลี้ยง บ่อซีเมนต์กว้าง 100 ซม. จำนวน 2 ท่อ บ่อซีเมนต์กว้าง 150 ซม.จำนวน 5 ท่อ วิธี่ทำท่อบำบัดของเสีย ต่อท่อพีวีซีต่อใส่ตรงรางขี้หมู เวลาล้างทำความสะอาดคอกของเสียเหล่านั้นก็จะออกมายังท่อพีวีซีที่ต่อไว้บ่อที่ 1 จำนวน 2 ท่อ ประกอบกัน ส่วนบ่อที่ 2 จำนวน 5 ท่อประกอบกัน ต่อท่อพีวีซีจากรางที่ต่อจากส่วนแรกคือคอกหมู ต่อมาใส่ในบ่อที่ 1 และก็ต่อท่อจากบ่อที่ 1 มาสู่ท่อที่ 2 ต่อแบบฝังใต้ดิน บ่อที่พัก เพื่อย่อยสลายของเสียจากคอกหมูบ่อที่ 1ให้ฝังลงใต้ดิน 1 ท่อ ส่วนบ่อที่ 2 ให้ฝังลงใต้ดิน 4 ท่อ ทำเหมือนบ่อน้ำสมัยโบราณ เมื่อล้างคอกของเสียก็จะไหลลงสู่บ่อที่ 1 เมื่อบ่อที่ 1 ล้น ของเสียเหล่านั้นที่มีการย่อยสลายแล้วก็จะไหลไปสู่บ่อที่ 2 ซึ่งเป็นบ่อบำบัดของเสียของขี้หมู ในบ่อที่ 2 สามารถตักหรือดูดไปรดพืชผักสวนครัวได้ ไม่มีกลิ่นเหม็นและไม่ส่งกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้าน ซึ่งในการจัดการย่อยสลายของเสียแบบฝังท่อนี้เป็นการจัดการที่ได้ประโยชน์ในการทำความสะอาด และลดกลิ่นรบกวน แล้วยังสามารถใช้ประโยชน์จากมูลของสุกรหรือขี้หมูได้อีกด้วย เทคนิค ท่อพีวีซีที่ต่อจากรางที่มาจากคอกหมูให้ใส่ท่องอเพื่อให้มีรูระบายอากาศ ระยะห่างของท่อที่ 1 และท่อที่ 2 ประมาณ 5-6 เมตร
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=sxEdTReUKYg
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


เลี้ยงหมูอย่างไร ไม่ให้มีกลิ่นเหม็น is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.

วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง