ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ขาปล้องในระบบนิเวศการเกษตรและพื้นที่รอบข้างในพื้นที่ อพ.สธ.
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผศ.ดร. ชัชวาล ใจซื่อกุล
เจ้าของผลงานร่วม อ. มารุต เฟื่องอาวรณ์
คำสำคัญ การควบคุมโดยชีววิธี;การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ;แมลงศัตรูพืช;ตัวชี้วัดทางชีวภาพ
หน่วยงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่เผยแพร่ 2561
คำอธิบาย การศึกษาความหลากหลายของแมลงและสัตว์ขาปล้องที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและพื้นที่รอบข้าง ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ดำเนินการโดยการสำรวจชนิดและปริมาณของแมลงศัตรูพืชและแมลงที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่แก่งคอย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำบลชำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ระหว่าง ธันวาคม 2556 ถึง กันยายน 2557 โดยใช้กับดักแสงไฟ สวิงจับแมลง สวิงสำหรับแมลงน้ำ และการแยกสัตว์ขาปล้องในดินโดยใช้ Berlese’s funnel จากการสำรวจพบแมลงศัตรูพืชกลุ่มผีเสื้อที่สำคัญ คือ หนอนผีเสื้อมะนาวและหนอนผีเสื้อเหยี่ยวต่าง ๆ ที่เป็นแมลงศัตรูการเกษตร และหนอนในวงศ์ Cossidae ที่เป็นแมลงศัตรูป่าไม้ แมลงน้ำกลุ่มที่พบมาก คือ มวนน้ำในอันดับ Hemiptera และหลายชนิดเป็นแมลงผู้ล่าที่สำคัญของลูกน้ำยุง สัตว์ขาปล้องในดินกลุ่มที่พบมากที่สุด คือ แมลงหางดีดตามมาด้วยไรดิน ถึงแม้พื้นที่ศึกษาจะมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างอาคาร การขุดบ่อน้ำ การเกษตร และการปลูกป่า แต่ความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวชี้วัดแสดงถึงสภาวะที่อุดมสมบูรณ์พอสมควร เนื่องจากพบบทบาทเชิงนิเวศต่าง ๆ ที่หลากหลายโดยเฉพาะผู้ล่า จึงควรได้มีการศึกษาต่อไปโดยเฉพาะเมื่อมีการปรับพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่เกษตรมากขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.rspgchula.sc.chula.ac.th/research/r2557_5.html
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ขาปล้องในระบบนิเวศการเกษตรและพื้นที่รอบข้างในพื้นที่ อพ.สธ. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง